สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก "ดาว์พงษ์" ลั่นปรับโครงสร้างศธ.ยึดตัวเด็ก

"ดาว์พงษ์" ลั่นปรับโครงสร้างศธ.ยึดตัวเด็ก

"ดาว์พงษ์" ลั่นปรับโครงสร้างศธ.ยึดตัวเด็ก

          "ดาว์พงษ์" ลั่นปรับโครงสร้าง ศธ. ยึดที่เด็กเป็นสำคัญ ถ้าทำแล้วสัมฤทธิผลการเรียนของเด็กดีขึ้นก็ถือว่ามาถูกทาง ด้านรองเลขาฯ กอศ.โวย สอศ.แปลงสภาพเป็นกรมเดียวทำให้งานไม่สมบูรณ์ ส่วน "การุณ" ไม่ขัดข้องถ้าแตก สพฐ.ออกเป็น 4 กรม ทำงานจะได้คล่องตัว ไม่เทอะทะ
          พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่จะมีการปรับโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้มีปลัด ศธ.เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นระดับ 11 เพียงคนเดียว (single command) และจะสลายองค์กรหลักแตกเป็นกรมที่มีอธิบดี ระดับ 10 เป็นผู้บังคับบัญชา ว่าการปรับโครงสร้าง ศธ.ยังต้องพูดคุยกันอีกมาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของข้าราชการใน ศธ. ซึ่งหัวใจของการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะต้องมุ่งไปที่เด็ก ปรับแล้วต้องทำให้การขับเคลื่อนงานของ ศธ.เป็นไปด้วยดี ถ้าการขับเคลื่อนของ ศธ.ดี เร็ว ถูกต้อง ก็จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น นั่นคือเป็นหมายและเป็นหัวใจสำคัญ
          ด้านนายชาญเวช บุญประเดิม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) คงไม่เห็นชอบตามโครงสร้างใหม่ที่เสนอให้ สอศ.มีฐานะเป็นกรมอาชีวศึกษาเพียงกรมเดียว เพราะ สอศ.ควรจะต้องมีหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ได้มีการยกร่างโครงสร้าง สอศ.ไว้เรียบร้อยแล้ว รอเพียงเสนอให้ รมว.ศธ.พิจารณา เบื้องต้นจะขอแยกออกเป็น 4 กรม คือ กรมอาชีวศึกษารัฐ กรมอาชีวศึกษาเอกชน กรมมาตรฐานการจัดการศึกษา และกรมทวิภาคีและความร่วมมือ เพื่อให้การบริหารงานมีความสมบูรณ์ และสามารถทำงานได้ตรงตามเป้าหมายมากที่สุด โดยเฉพาะขณะนี้ รมว.ศธ.มีนโยบายให้รวมอาชีวศึกษาเอกชนเข้ามาอยู่ในกำกับดูแลของ สอศ.ให้ได้ภายในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 เพื่อให้การบริหารจัดการในภาพรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างครั้งนี้เหมือนย้อนกลับไปสู่โครงสร้างเดิมที่มี 14 กรม หรือ 14 องค์ชาย ซึ่งในขณะนั้นก็มองว่าเทอะทะ มีปลัด ศธ.คนเดียวอาจทำให้การบริหารงานไม่ครอบคลุม แต่เมื่อมีนโยบายให้ปรับมาเป็นแบบนี้ สอศ.เองก็ต้องมาดู และทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
          ขณะที่นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะปัจจุบันอุ้ยอ้ายและเทอะทะเกินไป เพราะฉะนั้นการแยกไปตั้งเป็นกรมปฐมวัย กรมมัธยมศึกษา กรมการศึกษาพิเศษ และกรมวิชาการ ทำให้มีความชัดเจนในการบริหารและพัฒนาการศึกษาที่มีความเฉพาะ และทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวม ส่วนตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดที่จะเหลือระดับ 11 เพียงคนเดียว คือปลัด ศธ.นั้น สำหรับตนไม่ใช่ปัญหา เพราะต้องการให้การขับเคลื่อนงานมีเอกภาพ การมีปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาคนเดียวก็เหมือนกับทุกกระทรวง
          ด้านนายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า รูปแบบโครงสร้าง ศธ.ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะแยกออกไป ซึ่งในส่วนของ สกศ.นั้นในอนาคตจะไปเกี่ยวโยงกับคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ที่เวลานี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ. และเตรียมเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีหน้าที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ขณะที่ สกศ.ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการชุดดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เช่นนี้สถานะของ สกศ.จะมีการปรับเปลี่ยน โดยจะไปศึกษาใน 2 แนวทางคือ แนวทางแรก เป็นหน่วยงานในกำกับของ ศธ.เช่นเดิม ส่วนแนวทางที่สอง แยกตัวออกไปเป็นหน่วยงานอิสระ แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีหลายหน่วยงานสังกัดอยู่กับสำนักนายกฯ อยู่แล้ว จึงอยากให้ไปศึกษาดูว่าจะเป็นหน่วยงานในลักษณะใด
          "ส่วนตัวคิดว่าหากเป็นแนวทางที่ 2 แล้วไม่ขึ้นตรงกับสำนักนายกฯ สถานะของ สกศ.จะมีความอิสระ รูปแบบคล้ายกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากนี้จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว" เลขาฯ สกศ.กล่าว.

          ที่มา: www.thaipost.net

แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 04 พฤศจิกายน 2015 เวลา 11:46 น.)