สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ผลการประชุม คกก.ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

ผลการประชุม คกก.ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 312/2558
 ผลการประชุม คกก.ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศปข.ศธ.) 2/2558

 ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี - สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศปข.ศธ.) ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ซึ่งได้มีการติดตามงานตามนโยบายที่สำคัญ คือ นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร และนโยบายการสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา

 1. นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านการศึกษาของโลกปัจจุบัน ในประเทศสิงคโปร์ใช้คำว่าTeach Less Learn More

ทั้งนี้ สพฐ.ได้กำหนดนำร่องในโรงเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2558 โดยจะเป็นการลดเวลาเรียนในชั้นเรียน ซึ่งไม่กระทบกับ 8 กลุ่มสาระหลัก เพราะหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันได้กำหนดให้นักเรียนประถมศึกษาใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 1,000ชั่วโมงต่อปี มัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี (ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมงตลอด 3 ปี)

แต่ใน 1 ปี จะมีเวลาเรียนจริงประมาณ 200 วัน ซึ่งชั้นประถมฯ ในปัจจุบันเรียน 6 คาบ/วัน หรือ1,200 ชั่วโมงต่อปี ส่วนมัธยมศึกษาตอนต้นเรียน 7 คาบ/วัน หรือ 1,400 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากกว่าเวลาเรียนตามหลักสูตรอยู่แล้ว ดังนั้นนโยบายปรับลดเวลาเรียนในชั้นเรียน จึงไม่ทำให้กระทบกับ 8 กลุ่มสาระหลัก

 ส่วนระยะเวลาหลังเลิกเรียน 1 ชั่วโมง หรือช่วงเวลาประมาณ 14.30-15.30 น. จะมีกิจกรรมอะไรบ้างนั้น สพฐ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการเตรียมการด้านต่างๆ ดังนี้

 2-5 กันยายน 2558 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.ได้เชิญผู้แทนของโรงเรียนขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก โรงเรียนของรัฐ-เอกชน โรงเรียนที่ตั้งในเมือง-ชนบทห่างไกล รวมทั้งโรงเรียนระดับยอดเยี่ยมของประเทศไทย มาหารือและร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วงหลังเลิกเรียนในชั้นเรียน

 9-11 กันยายน 2558 ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในเชิงปฏิบัติจากนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้สนใจ ผ่านเว็บไซต์ mcmk.obec.go.th และ Facebook : obecmcmk

 11-30 กันยายน 2558 จะสรุปข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็น และสรุปจำนวนและรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งจัดทำคู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียนสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน รวมทั้งจัดทำแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ กิจกรรมเสรี กิจกรรมสอนอาชีพ และกิจกรรมสอนเสริมวิชาการ

 1-31 ตุลาคม 2558 จะจัดให้มี Workshop และการสร้างการรับรู้ 6 จุดทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ รวมทั้งจะเร่งประชาสัมพันธ์-สร้างการรับรู้สู่ผู้เรียนให้แก่สังคมได้รับทราบ เพื่อดำเนินการได้ตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป


 2. นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร

 ที่ประชุมได้รับทราบกรอบแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดทำแผนพัฒนาและยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง (Functional English) โดยใช้กลยุทธ์การประเมิน (Assessment) และสร้างแรงจูงใจ (Incentive) เพื่อยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษทุกระดับชั้น โดยมีช่องทางดำเนินการ 5 ด้าน ดังนี้

1 - วัดระดับตามมาตรฐานสากล (CEFR) เพื่อแยกระดับมาตรฐานผู้เรียน ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับชำนาญเหมือนเจ้าของภาษา ระดับ ดังนี้
     1) ระดับ Basic User กำหนดไว้ที่ระดับ A1-A1
     2) ระดับ Independent User กำหนดไว้ที่ระดับ B1-B2 
     3) ระดับ Proficient User กำหนดไว้ที่ระดับ C1-C2
2 - ประเมินความสามารถภาษาอังกฤษ
3 - พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
4 - ปรับปรุงหลักสูตรและโครงสร้างพื้นฐาน
5 - Guaranteed Employment Program (Skills+Mindset)

 โดยมีช่องทางการขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น ใช้ระบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information Technology : DLIT) การประชุมปฏิบัติการของสถาบันภาษาและหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน  การจัด Boot Camps หรือหลักสูตรแลกเปลี่ยน การนำ E-Learning มาใช้ เช่น จัดทำแอพลิเคชั่นบนมือถือ และ Game Based เป็นต้น

รมว.ศึกษาธิการ ขอให้คณะทำงาน รมช.ศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน รวมทั้ง Time frame ระยะยาวในการปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดแนวทางนำร่องให้ชัดเจนต่อการขับเคลื่อนปฏิบัติ


 3. นโยบายการสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา

 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ กรอบแนวคิดการเปลี่ยนค่านิยมของผู้ปกครองและนักเรียนให้เห็นความสำคัญและเข้าสู่การเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น ซึ่งได้เน้นให้เห็นความสำคัญที่จะต้องตอบสนองต่อ Stakeholders ใน 6 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ

1) คนทำงาน ที่จะเพิ่มความก้าวหน้าอาชีพ โดยจัดระบบเทียบโอน ทวิศึกษา จัดให้มีการสร้างรายได้เพิ่ม ส่งเสริมการมีงานทำ หรือคนทำงานที่ต้องการเปลี่ยนงาน
2) ชุมชนท้องถิ่น เน้นการให้บริการประชาชนด้าน Fix-It Center ดำเนินงานตามโครงการ อาชีวะพัฒนา การสร้างค่านิยมให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น
3) สถานประกอบการ โดยเน้นให้มีความร่วมมือระบบทวิภาคี และความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มากขึ้น
4) นักเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญของการเรียนระดับอาชีวะที่จะช่วยให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน มีโอกาสเข้าถึงทุนต่างๆ ได้ง่าย มีโอกาสก้าวเป็นผู้คิดค้นหรือมีความสามารถในการผลิตนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ได้
5) ผู้ปกครอง โดยจะเน้นให้เห็นถึงความสามารถในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนสายอาชีวะ การสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย-สร้างรายได้ในการเรียน การให้ความสำคัญและการควบคุมดูแลเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยในการเข้าเรียนมากขึ้น และย้ำให้เห็นว่านักเรียนที่จบออกไปแล้วจะมีอาชีพติดตัว สามารถเลือกช่องทางที่จะเป็นผู้ประกอบการเองได้ หรือไปทำงานอื่น หรือเลือกศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
6) สถานศึกษา จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนทั้งสถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาขนาดใหญ่ตามโครงการอาชีวะมาตรฐานสากล โดยรัฐให้การสนับสนุนค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งการผลิตพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตครูอาชีวะให้มีขวัญกำลังใจและมีความสุขในหน้าที่การงาน

ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศปข.ศธ.) กำหนดให้มีการประชุมทุกเช้าวันจันทร์ เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 26 ข้อ

j