สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก รมว.ศธ.ลงนาม 2 คำสั่ง มอบอำนาจให้ รมว.ศธ.สั่งและปฏิบัติราชการแทน และ มอบหมายให้ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

รมว.ศธ.ลงนาม 2 คำสั่ง มอบอำนาจให้ รมว.ศธ.สั่งและปฏิบัติราชการแทน และ มอบหมายให้ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 305/2558
รมว.ศธ.ลงนาม 2 คำสั่ง
มอบอำนาจให้ รมว.ศธ.สั่งและปฏิบัติราชการแทน และ
มอบหมายให้ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน ตามคำสั่งที่ สร ๑๒๘๘/๒๕๕๘ และมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ตามคำสั่งที่ สร ๑๒๘๙/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘

 คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ สร ๑๒๘๘/๒๕๕๘

เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน

ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ และให้ พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพลเอก เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ นั้น

เพื่อให้การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชน และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๔๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงยกเลิกคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๗๗๖/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทนดังต่อไปนี้

๑. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)

การบริหารราชการเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

๒. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์)

การบริหารราชการเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
- สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
- สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

ทั้งนี้ ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนดังกล่าว ให้ยกเว้นเรื่องการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรื่องนโยบายเรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง เรื่องที่จะต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาและเรื่องที่สมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาสั่งการ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งต้องมีการประสานงานหรือดำเนินการในส่วนราชการ องค์กรในกำกับและหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการมีประสิทธิภาพและบรรลุตามนโยบาย

ทั้งนี้ เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิบัติราชการแทนตามที่ได้รับมอบอำนาจแล้ว ให้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทราบโดยเร็ว


คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ สร ๑๒๘๙/๒๕๕๘
เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย

ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๒๘๘/๒๕๕๘ เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘ นั้น

๑. มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานตามนโยบาย ดังนี้

                  ๑.๑ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)
                             ๑.๑.๑ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
                             ๑.๑.๒ การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน
                             ๑.๑.๓ การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
                             ๑.๑.๔ การแก้ไขปัญหาทุจริต
                             ๑.๑.๕ การสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา
                             ๑.๑.๖ การจัดการเรียนการสอนทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการ
                             ๑.๑.๗ การแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา
                             ๑.๑.๘ การส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะด้าน
                             ๑.๑.๙ การจัดการอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากล
                             ๑.๑.๑๐ การกระจายโอกาสทางการศึกษา “โครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้” 
                             ๑.๑.๑๑ การพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาของ กศน.
                             ๑.๑.๑๒ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
                             ๑.๑.๑๓ การส่งเสริม กศน.ตำบล เป็นกลไกในการขับเคลื่อนระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน

                  ๑.๒ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์)
                             ๑.๒.๑ การแปลงกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ
                             ๑.๒.๒ การปฏิรูปการศึกษา
                             ๑.๒.๓ การสอนให้เด็กใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจ มากกว่าใช้ความรู้สึกตามกระแสสังคม
                             ๑.๒.๔ การประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
                             ๑.๒.๕ การลดภาระงาน/กิจกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
                             ๑.๒.๖ การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
                             ๑.๒.๗ การผลิตนักศึกษาตามความถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบัน
                             ๑.๒.๘ การกำหนดเป้าหมายผลผลิตทางการศึกษาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมจากทรัพยากรในท้องถิ่น
                             ๑.๒.๙ การสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนในท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

                  ๑.๓ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ
                             ๑.๓.๑ การขับเคลื่อนโครงการอบรม/สัมมนา ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
                             ๑.๓.๒ การนำ ICT มาใช้ในการบริหารงานอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ
                             ๑.๓.๓ การส่งเสริมด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
                             ๑.๓.๔ การอำนวยการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

๒. มีอำนาจในการบูรณาการ ประสานงานทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ