สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก แกะรอย...’หนังสือล่องหน-ฝากขายตำรา’ ในอาณาจักรองค์การค้าฯ!!

แกะรอย...’หนังสือล่องหน-ฝากขายตำรา’ ในอาณาจักรองค์การค้าฯ!!

แกะรอย...’หนังสือล่องหน-ฝากขายตำรา’ ในอาณาจักรองค์การค้าฯ!! 

ทีมข่าวการศึกษา มติชน
          นับจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 สั่งโยกย้ายผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นกระทรวงแรก เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เข้ามาตรวจสอบการบริหารงานไม่โปร่งใสในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) องค์การค้า (อค.) ของ สกสค.และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา พร้อมกับที่ ศธ.ตรวจสอบคู่ขนานนั้น
          ปรากฏว่ามีหลายโครงการที่พบการบริหารงานที่น่าสงสัย เริ่มจากการก่อสร้างอาคารพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ของ สกสค. วงเงิน 360 ล้านบาท
          ล่าสุด คณะกรรมการ สกสค.ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา มีคำสั่งยกเลิก ตามมาด้วยกรณี สกสค.นำเงิน กองทุนเงินสนับสนุนพิเศษและส่งเสริมความมั่นคงตามโครงการสวัสดิการเงินกู้ กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) วงเงิน 2,500 ล้านบาท ไปปล่อยกู้ให้กับ บริษัทบิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด  แลกกับการซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยบริษัทบิลเลี่ยนฯนำหลักทรัพย์ 7 รายการ ที่เกือบทุกรายการปลอมหรือไม่มีมูลค่าจริงตามที่แจ้ง มาค้ำประกัน มีผลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีมติให้อายัดทรัพย์อดีตผู้บริหารสำนักงาน สกสค.กับพวก และบริษัทบิลเลี่ยนฯจำนวน 146 รายการ มูลค่า 183 ล้านบาท
          พร้อมกันนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนอดีตคณะกรรมการกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษฯ ช.พ.ค.เรียบร้อยแล้ว มีข่าวว่า คตร.สืบรู้เส้นทางการเงินทั้ง 2,500 ล้านบาท แล้วว่าไปอยู่ที่ใครบ้าง และเตรียมส่งข้อมูลที่ตรวจสอบเสร็จแล้วให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อ
          เมื่อ ทีมข่าวการศึกษา มติชน สืบข้อมูลเชิงลึก ยังพบกรณีที่ สกสค.นำเงินกองทุนเงินสนับสนุนพิเศษฯช.พ.ค.ไปซื้อหุ้นของ บริษัทหนองคายน่าอยู่ จำกัด จำนวน 800 ล้านบาท เพื่อลงทุนใน โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน บ้านป่าตอง ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย โดย พล.ร.อ.ณรงค์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ สกสค. แถลงถึงประเด็นที่ต้องตรวจสอบหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นหุ้นของบริษัทหนองคายฯ มีราคาพาร์ 10 บาท แต่สามารถขายหุ้นในราคา 25 บาท ให้กับ สกสค. ภายในเวลาไม่นาน ทั้งที่บริษัทยังไม่มีรายได้เข้ามา ที่ประชุมขอให้ สกสค.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของบริษัทหนองคายฯ ขณะที่ที่ประชุมคณะกรรมการ สกสค.ได้รับทราบว่าราคาหุ้นที่เพิ่มมา 25 บาทนั้น เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ
          ล่าสุด ทีมข่าวการศึกษาฯ มติชน ได้ขยายผลต่อ พบกรณีการบริหารงานของ องค์การค้าฯ หรือ อค. โดยหนังสือเรียนของ อค.ที่ได้เช่าเครื่องพิมพ์ของสำนักพิมพ์ศิริวัฒนา อินเตอร์พรินท์ จำกัด จัดพิมพ์ตั้งแต่ปี 2556-2557 จำนวน 1,178,764 เล่ม คิดเป็นเงิน 68,597,656 บาท หายไป เนื่องจากยอดหนังสือที่ส่งเข้าคลังสินค้าไม่ตรงกับยอดสั่งพิมพ์ ขณะที่ปี 2556-2557 มียอดการพิมพ์ทั้งหมด 55 ล้านเล่ม แยกเป็นปี 2556 จำนวน 25 ล้านเล่ม และปี 2557 จำนวน 30 ล้านเล่ม นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ อค. ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบกรณีดังกล่าว
          คณะทำงานตรวจพบเอกสารการโอนหนังสือเข้าคลังสินค้า เท่ากับยังมีหนังสือที่ขาดจำนวน 537,668 เล่ม คิดเป็นมูลค่าราคาขาย 33,851,480 บาท จำแนกเป็น ปี 2556 ขาด 14 รายการ  77,203 เล่ม มูลค่า 4,590,933 บาท และปี 2557 ขาด 25 รายการ 460,465 เล่ม มูลค่า 29,260,547 บาท
          ปี 2556 วิชาที่ขาดมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ภาษาพาที ป.3 จำนวน 8,941 เล่ม  มูลค่า 634,811 บาท จากยอดพิมพ์ 600,000 เล่ม, วรรณคดีลำนำ ป.3 ขาด 4,386 เล่ม มูลค่า 223,686 บาท จากยอดพิมพ์ 650,000 บาท และวรรณคดีลำนำ ป.6 ขาด 7,323 เล่ม มูลค่า 468,672 บาท จากยอดพิมพ์ 600,000 บาท
          ส่วนปี 2557 ภาษาพาที ป.1 ขาด 119,405 เล่ม  มูลค่า 6,447,870 บาท จากยอดพิมพ์ 700,000 เล่ม, ภาษาพาที ป.2 ขาด 41,186 เล่ม มูลค่า 2,841,834 บาท จากยอดพิมพ์ 350,000 เล่ม และวิชาภาษาพาที ป.3 ขาด 38,949 เล่ม มูลค่า 2,765,379 บาท จากยอดพิมพ์ 360,000 เล่ม
          ล่าสุด นายสุเทพรายงานผลการตรวจสอบหนังสือขาด 537,668 เล่ม มูลค่า 33,851,480 บาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร อค.รับทราบ ที่ประชุมมีคำสั่งให้นายสุเทพนับจำนวนหนังสือที่มีอยู่จริง และประสานทหารเข้าไปร่วมอำนวยความสะดวก
          และเมื่อเร็วๆ นี้นายสุเทพได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีหนังสือขาดเรียบร้อยแล้ว มีตัวแทนสหภาพแรงงาน อค.ร่วมเป็นกรรมการด้วย
          ที่ผ่านมาสหภาพแรงงาน อค.พยายามชี้แจงว่าปัญหาเกิดจาก 2 ส่วน คือ 1.พื้นที่คลังสินค้ามีจำกัด ทำให้ต้องพักหนังสือไว้ที่ส่วนโรงพิมพ์ และ 2.การโอนรับโอนจ่ายล่าช้า โอนหนังสือเข้าคลังแล้วไม่ส่งเอกสารให้ฝ่ายบัญชีบันทึก สอดคล้องกับผลตรวจสอบของคณะทำงานที่นายสุเทพตั้งขึ้น ซึ่งพุ่งเป้าไปที่ปัญหาของระบบ อาทิ
          1.งานระหว่างผลิตมีสภาพชำรุดเสียหายหรือมีการโค่นล้มของสิ่งพิมพ์ ในระหว่างการเคลื่อนย้าย เพื่อไปจัดวางบนพื้นที่ว่างภายในอาคารต่างๆ ที่เป็นอาณาเขตของสำนักบริหารการผลิตและการพิมพ์ ทำให้ไม่สามารถประกอบเป็นหนังสือสำเร็จรูปได้
          2.งานหนังสือสำเร็จรูป ที่บรรจุลงกล่องพร้อมโอนเข้าคลัง ส่วนงานพิมพ์ระบบเครื่องเช่าไม่มีที่จัดวางเพื่อเก็บภายในอาคาร และคลังสินค้าไม่รับโอนด้วยไม่มีพื้นที่รองรับสินค้าสำเร็จรูปเช่นกัน จึงต้องเคลื่อนย้ายหนังสือสำเร็จรูปไปวางบนพื้นที่ว่างภายในอาคารต่างๆ ที่เป็นอาณาเขตของสำนักบริหารการผลิตฯ เมื่อคลังสินค้าต้องการสินค้า จึงแจ้งรายการสินค้าเพื่อโอนเข้าคลัง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำรวจสินค้าดังกล่าวพบว่าสินค้าได้สูญหายไปจากพื้นที่ที่จัดวางนั้น และถ้าคลังสินค้าต้องการสินค้าในวันหยุด จะโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าของงานนี้เคลื่อนย้ายสินค้าไปก่อน ด้วยอาคารที่จัดวางเป็นอาคารเปิด สามารถเข้าออกได้เลย และมาโอนสินค้าด้วยใบโอนพัสดุในวันทำการ
          ผลการตรวจสอบของคณะทำงาน ยังเจอด้วยว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานทราบว่ามีหนังสือสูญหายไปจากพื้นที่ที่จัดวาง ได้รายงานผู้บังคับบัญชาตามขั้นตอน และรายงานในที่ประชุมการติดตามงานพิมพ์ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้อำนวยการสำนักการผลิตฯ เป็นประธาน บ่อยครั้งประธานรับทราบ และจะดำเนินการให้ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาในทันที จนเวลาล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่คลังสินค้าที่เป็นหน่วยรับโอนให้ตรวจสอบยอดสินค้า แต่ไม่ได้รับความร่วมมือในการตรวจสอบทันที จะทราบว่ามียอดโอนเพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อมีการสำรวจสินค้าคงเหลือปลายปี
          คณะทำงานจึงเสนอแนะว่า การที่ผู้รับจ้างนำเครื่องจักรมาติดตั้งในพื้นที่องค์การค้าฯ ที่มีอาณาเขตชัดเจน โดยไม่มีเครื่องจักรขององค์การค้าฯ เข้าไปเกี่ยวข้อง และคิดค่าใช้จ่ายในรูปค่าเช่าเครื่องพิมพ์ ค่าเช่าเครื่องทำเล่ม ซึ่งมีรูปแบบในทำนองเดียวกับการจ้างผลิตภายนอก ดังนั้น การส่งมอบงานต้องผ่านการตรวจรับจากคณะกรรมการตรวจรับ และนำเสนอฝ่ายบัญชีเพื่อตรวจจ่ายตามระเบียบต่อไป เมื่อผู้รับจ้างส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้ คลังสินค้านำเอกสารใบรับของเข้าโดยมีคณะกรรมการตรวจรับอย่างถูกต้อง อีกทั้ง การพิมพ์ด้วยระบบเครื่องเช่า เพื่อผลิตหนังสือสำเร็จรูปนี้ เป็นการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ถือว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต ต้องมีการควบคุมทุกขั้นตอน
          จากผลการตรวจสอบเบื้องต้น พุ่งไปที่ระบบการทำงานที่บกพร่องของเจ้าหน้าที่ บวกกับพื้นที่เก็บหนังสือมีจำกัด อย่างไรก็ตาม บางกระแสแสดงความห่วงใยว่ากรณีหนังสือหายอาจมีกระบวนการนำหนังสือออกไปขายต่อหรือไม่ โดยมีการอาศัยช่องโหว่ของระบบข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายบัญชีและฝ่ายผลิต ทำให้ฝ่ายบัญชีไม่สามารถตรวจสอบความผิดปกติของยอดโอนเข้ามาในคลังสินค้าว่าตรงกับยอดผลิตหรือไม่ จะทราบก็เมื่อมีปัญหาร้องเรียนเข้ามาแล้ว ขณะที่ในอดีตมีปัญหาหายมาแล้วหลายครั้ง อาทิ ปี 2551 สมัย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ. โดยหนังสือ ม.ปลาย หาย 48 รายการ มูลค่าราคาขาย 50 ล้านบาท ปี 2559 เคยมีหนังสือหายลักษณะเดียวกัน เสียหาย 10 ล้านบาท ส่วนปีนี้หนังสือหาย 39 ราย จำนวน 537,668 เล่ม มูลค่า 33,851,480 บาท
          คตร.อยู่ระหว่างการตรวจสอบความไม่โปร่งใสใน อค.ที่เกิดปัญหาหนี้สิน 5,000 ล้านบาท มากกว่าทรัพย์สินในปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 4,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินจากที่ดิน 200 กว่าไร่ทั่วประเทศ แม้สภาพแรงงาน อค.พยายามชี้แจงว่าหากขายหนังสือเรียนหมดในเดือนกันยายน 2558 ก็จะทำให้ยอดหนี้ลดลงเหลือประมาณเกือบ 4,000 ล้านบาท แต่การจะนำพา อค.ให้หลุดพ้นสภาวะหนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย คตร.จึงเสนอแนะให้ อค.ทำแผนยุบ อค. แต่ อค.มีพนักงานเจ้าหน้าที่ 1,452 คน ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง 728 คน
          หากจะยุบเลิกองค์กรจะต้องจ่ายเงินบำเหน็จ เงินเดือนสุดท้าย เงินค่าจ้างลูกจ้างสัญญา เงินเดือนค้างจ่ายตามคำพิพากษาศาล ด้านบุคลากรถึง 2,032 ล้านบาท
          เมื่อตรวจสอบเชิงลึกยังพบปัญหาจากการที่ อค.ขายหนังสือเรียนให้บริษัทเอกชนไปแล้วและบริษัทเอกชนนำกลับมาฝากขายต่อซึ่งทำให้ อค.เสียเปรียบ แม้สหภาพแรงงาน อค. จะพยายามอธิบายว่าแนวทางดังกล่าวทำให้ อค.ได้กำไร 2 ต่อ ต่อแรกจากการขายหนังสือ โดยได้กำไรเมื่อเทียบกับราคาต้นทุน อค.ได้รับการชำระเงินทันทีภายใน 5 งวด และต่อ 2 ได้รับกำไรจากการฝากขายที่บริษัทเอกชนนำหนังสือเรียน อค.กลับมาฝากขาย
          หลายฝ่ายแสดงความห่วงใยว่าแนวทางดังกล่าวทำให้ อค.เสียเปรียบบริษัทเอกชน แต่ที่ อค.ใช้วิธีรับฝากขายแทนที่จะขายขาด ดังกล่าว ก็เพราะมีคนในบางคนได้ผลประโยชน์ตอบแทน
          ต้องจับตาดูว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศ จะสามารถสะสางปัญหาองค์การค้าฯและกระชากหน้ากากผู้ที่แฝงตัวมาหาผลประโยชน์กับองค์การค้าฯ ได้หรือไม่

          บรรยายใต้ภาพ 
          พล.ร.อ.ณรงค์  พิพัฒนาศัย
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 3 ก.ค. 2558 (กรอบบ่าย)--