สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก เผยวิจัยรายหัวต้องไม่ต่ำหมื่นบาท/คน/ปี

เผยวิจัยรายหัวต้องไม่ต่ำหมื่นบาท/คน/ปี

เผยวิจัยรายหัวต้องไม่ต่ำหมื่นบาท/คน/ปี

เมื่อวันที่ 16  มิถุนายน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน ขอปรับเพิ่มเงินอุดหนุนอีกประมาณ 10% ของจำนวนเงินที่ได้รับปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น และไม่มีการปรับมานานกว่า 5 ปี ทั้งงบอุดหนุนรายหัว เงินอุดหนุนเรียนฟรี เงินอุดหนุนสำหรับเด็กยากจน เงินอุดหนุนสำหรับเด็กเรียนพักนอน โดยที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ว่าข้อเสนอนี้เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในส่วนของงบเรียนฟรี ที่ผ่านมา สอศ.ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาแล้ว เพราะถึงเวลาที่ต้องปรับเพิ่มให้เป็นไปตามค่าครองชีพ
          เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า ที่ สพฐ.เสนอปรับเพิ่ม 10% อาจน้อยเกินไป ดังนั้น สอศ.จะเร่งศึกษางบอุดหนุนที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่ง สอศ.จะได้งบเรียนฟรีเฉพาะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เท่านั้น โดยปัจจุบันค่าใช้จ่ายแต่ละสาขาอยู่ที่ประมาณ 5,000-12,000 บาทต่อปี ส่วนกรณีที่จะยกเลิกการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาพิเศษ อาทิ ว่ายน้ำ ภาษาต่างประเทศ ดนตรี ฯลฯ นั้นของ สอศ. ก็มีการออกประกาศการเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาพิเศษไว้ แต่ทางปฏิบัติไม่ได้เก็บจริง เพราะต้องช่วยเด็กไม่ให้มีภาระมากเกินไป ทั้งนี้งบเรียนฟรีที่ผ่านมาไม่เพียงพอต่อความต้องการจริง เพราะให้อัตราขั้นต่ำ ขณะเดียวกันสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กำลังทบทวนว่าจะให้งบเรียนฟรีลงไปถึงระดับอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษาด้วย ซึ่งหากขยายถึงขั้นนั้นจะต้องใช้งบเพิ่มอีกมาก
          นายเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวว่า เคยวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรายหัวที่เหมาะสม อยู่ที่ 7,000-10,000 บาทต่อคนต่อปี แต่ศึกษามาหลายปีแล้ว ปัจจุบันอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจุบัน ม.ต้น ได้รับ 3,500 บาทต่อคนต่อปี ม.ปลาย 3,800 ต่อคนต่อปี ส่วนการยกเว้นค่าบำรุงการศึกษาพิเศษสำหรับนักเรียนยากจนนั้น รัฐต้องแน่ใจว่ามีงบอุดหนุนเพียงพอ เพราะงบ ศธ. 80% เป็นเงินเดือนบุคลากร งบจัดการศึกษามีแค่ 20% ซึ่งหากจะให้โรงเรียนยกเว้นค่าใช้จ่าย ก็อาจต้องสนับสนุนงบเพิ่มพอสมควร--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน