สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ลูกจ้าง 1.5 แสนคนจ่อเฮชงคลังขึ้นเงินตาม ขรก.

ลูกจ้าง 1.5 แสนคนจ่อเฮชงคลังขึ้นเงินตาม ขรก.

ลูกจ้าง 1.5 แสนคนจ่อเฮชงคลังขึ้นเงินตาม ขรก. 

 

กรมบัญชีกลางพร้อมโอนหมื่นล้านตกเบิกให้งวด 25 มิ.ย. ข้าราชการ 2 ล้านคนเฮ เสนอขึ้นเงินเดือนลูกจ้างประจำตามอีก 1.5 แสนคน นักวิชาการชี้ ศก.ไทยติดกับดัก อุตฯไร้การพัฒนา-ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยมาก สภาพัฒน์เล็ง'โคราช-ปราจีนฯฉะเชิงเทรา'ตั้งเขต ศก.พิเศษไฮเทคโนโลยี
          คลังพร้อมหมื่นล.ตกเบิกขรก.
          เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจาก พ.ร.บ.การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม กรมบัญชีกลางพร้อมที่จะโอนเงินส่วนที่ปรับขึ้นไปให้ส่วนราชการในรอบการจ่ายเงินเดือนของเดือนมิถุนายน ที่จะจ่ายทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน เนื่องจากรอบเดือนพฤษภาคมโอนเข้าบัญชีของหน่วยราชการไปตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคมไปแล้ว โดยส่วนราชการต่างๆ ต้องจัดทำเงินเดือนของข้าราชการแต่ละคนในหน่วยงานบางหน่วยมี 200 คน อาจเร็วหน่อย แต่บางหน่วยมี 2,000-3,000 คน ต้องใช้เวลา ประเมินว่าจะมีหน่วยราชการประมาณ 80% สามารถส่งเรื่องมายังกรมบัญชีกลางภายในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ซึ่งกรมพร้อมจ่ายให้ทันทีในงวดวันที่ 25 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป โดยจ่ายทั้งเงินเดือนใหม่ของเดือนมิถุนายนพร้อมกับเงินตกเบิกอีก 6 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557-พฤษภาคม 2558
          "กรมบัญชีกลางมีความพร้อมทั้งเรื่องเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ที่จะนำมาจ่ายตกเบิกให้ข้าราชการ รวมถึงมีความพร้อมในเรื่องระบบไอที และเรื่องคน เพราะมีการซักซ้อมเรื่องนี้มาแล้ว ถ้าหน่วยงานส่งเรื่องเข้ามาพร้อมๆ กันจำนวนมากจะให้ข้าราชการของกรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเวลาทำงาน เพื่อจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการทันงวดเดือนมิถุนายนนี้" นายมนัสกล่าว
          ชงปรับเงินลูกจ้างประจำตาม
          นายมนัสกล่าวว่า หลังเรื่องเงินเดือนข้าราชการแล้ว กรมบัญชีกลาง เตรียมเสนอกระทรวงการคลังให้ประกาศปรับโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างประจำให้สอดคล้องกับข้าราชการ มีหลักเกณฑ์คือ 1.ลูกจ้างประจำของส่วนราชการทุกราย ได้ปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1 ขั้น 2.ขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างประจำทุกตำแหน่ง เพิ่มขึ้น 3 ขั้น 3.ลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างขั้นสูงสุดของตำแหน่ง (ค่าจ้างตัน) และได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ในรอบการประเมินที่แล้วมา (1 เมษายน-30 กันยายน 2557) ให้นำค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวมานับรวมเป็นขั้นค่าจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 (หยุดเบิกค่าตอบแทนพิเศษ)
          นายมนัสกล่าวว่า จะมีลูกจ้างประจำได้รับประโยชน์ 155,053 คน ใช้งบประมาณ 984 ล้านบาท (ธันวาคม 2557-กันยายน 2558) โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 งบบุคลากรของแต่ละส่วนราชการ หากงบประมาณไม่พอ จะพิจารณาจัดสรรเงินงบกลางให้กรมบัญชีกลางพร้อมดำเนินการทันทีเมื่อกฎหมายประกาศใช้
          ใช้งบ2.2หมื่นล.-ขรก.2ล้านเฮ
          นายมนัสกล่าวว่า เมื่อมีข่าวปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ได้รับการสอบถามจากลูกจ้างประจำว่าจะได้รับการปรับค่าจ้างด้วยหรือไม่ ปรับขึ้นเท่าไร จะปรับเงินพร้อมข้าราชการไหม เรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนไหน ขอแจ้งว่า ลูกจ้างประจำทุกคนจะได้ปรับอัตราค่าจ้างเช่นเดียวกับข้าราชการ โดยจะได้ปรับในระยะเวลาไล่เลี่ยกับการปรับเงินเดือนของข้าราชการ
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎหมายเกี่ยวกับเงินเดือน 4 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558, พ.ร.บ.ระเบียบเงินเดือนเงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558, พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2558 โดยให้ปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการชั้นผู้น้อยทุกประเภท ตั้งแต่ระดับ 1-7 ในอัตรา 4% ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการทุกประเภททุกระดับ เพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 10% โดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 ซึ่งการปรับขึ้นเงินเดือนและโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้ จะใช้เงินงบประมาณประจำปี 2558 เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมข้าราชการรวม 1.98 ล้านคน
          นักวิชาการชี้ศก.ไทยติดกับดัก
          วันเดียวกัน ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนาหัวข้อ "1 ปี เศรษฐกิจไทย ความหวังและอนาคต" โดยนายวิโรจน์ อาลี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากการรัฐประหาร และปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากไทยพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนข้ามชาติ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับการบริหารจัดการของรัฐบาลที่ยังไม่มียุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
          นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การส่งออกสินค้าทุกชนิดของไทยลดลงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างการส่งออกของไทยที่ไม่ดึงดูดตลาดโลก จึงมองว่าไทยติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เนื่องจากอุตสาหกรรมไทยไม่มีการพัฒนา การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เกิดขึ้นน้อยมากจากความวุ่นวายทางการเมือง รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพไม่มีความต่อเนื่องในนโยบาย
          นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า หลังรัฐประหาร ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจยังคงอยู่จากการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ของสหภาพยุโรป (อียู) แก้ได้โดยการทำเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับอียู แต่อียูจะไม่เจรจาการค้ากับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงเหตุการณ์จับนักศึกษาที่รณรงค์ครบรอบ 1 ปีรัฐประหารที่ผ่านมา แสดงถึงความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของไทย ส่งผลต่อการลงทุน
          'ธนาธร'ชี้ศก.ขึ้นอยู่กับปชต.
          นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจ กล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับการสถาปนาสถาบันรัฐที่เป็นประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องมีการกระจายอำนาจ อย่างจริงจังไปสู่องค์กรปกครองในท้องถิ่น การจัดเก็บภาษีเล็กๆ ควรให้ท้องถิ่นเก็บเอง รวมถึงการเข้าถึงแหล่งลงทุนได้อย่างทั่วถึง สิ่งที่สามารถทำได้คือเปิดธนาคารท้องถิ่น อาจต้องใช้ต้นทุนจำนวนมากแต่เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องทำ ทั้งยังต้องสนับสนุนอุตสาหกรรมให้เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง สุดท้ายคือการทำลายการผูกขาดและสร้างสวัสดิการทางสังคม
          "การแข่งขันในระบบโลกาภิวัตน์ต้องการคนที่มีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ จึงต้องการประชาธิปไตยที่ให้เสรีภาพและความเท่าเทียมมากกว่าระบบอำนาจนิยม เนื่องจากระบบอำนาจนิยมเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการ กระจายทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเท่าเทียมกัน หากเราไม่มีสถาบันรัฐที่มีความเป็นประชาธิปไตย จะนำไปสู่ความถดถอยในอนาคต" นายธนาธรกล่าว (อ่านรายละเอียด น.2)
          หอค้ามั่นใจศก.ฟื้นตัวดีขึ้น
          ที่โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ มีการประชุมใหญ่หอการค้าภาค 5 ภาค ประจำปี 2558 โดยนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความเชื่อมั่นของเอกชนต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีปรับดีขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้กำลังการผลิตกระเตื้องขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เพิ่มขึ้น ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี แต่ยังกังวลเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก แม้สหรัฐจะฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยุโรปและจีนยังชะลอตัว
          "จากการสอบถามผู้ประกอบการเอกชนทั่วประเทศพบว่าความเชื่อมั่นดีขึ้น ทุกคนมีความหวังมากขึ้น มองว่าเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 3 จะดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 2 จะเริ่มเห็นการลงทุนต่างๆ กลับมา ความเชื่อมั่นเหล่านี้มาจากสถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ถ้ารัฐบาลดำเนินตามโรดแมปที่วางไว้ ความเชื่อมั่นจะดีขึ้นอีก ประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.5% แม้ภาพรวมการส่งออกจะชะลอตัว แต่ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวียังขยายตัวได้มากกว่า 10%" นายอิสระกล่าว
          'สิ่งทอ'แห่ย้ายฐานไปเวียดนาม
          นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เร็วๆ นี้ จะมีอุตสาหกรรมทั้งผู้ประกอบการในประเทศและต่างชาติ ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มสิ่งทอ ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนาม เนื่องจากประเทศเวียดนามมีค่าแรงถูกกว่าไทย รวมทั้งได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อีกทั้งเวียดนามอยู่ระหว่างเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เวียดนามสหภาพยุโรป (อียู) คาดว่าจะเซ็นสัญญากันเร็วๆ นี้ จะทำให้ได้เปรียบกว่าไทยมาก ขณะที่ไทยเอฟทีเอไทย-อียู ยังไม่สามารถเจรจาต่อได้ เพราะอียูจะไม่เจรจากับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
          นายวัลลภกล่าวว่า แม้การย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มใช้แรงงานเข้มข้น แต่สิ่งที่ภาครัฐควรดำเนินการ คือ ยกระดับการผลิตผู้ประกอบการไทยให้เป็นสินค้ากลุ่มนวัตกรรม เป็นสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง (ไฮเทคโนโลยี) มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการมีความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพการผลิตสินค้าอยู่แล้ว เชื่อว่าหากพัฒนาผู้ประกอบการไทยไปสู่จุดนี้มากขึ้น ปัญหาการย้ายฐานการผลิตจะไม่ส่งผลกระทบ แน่นอน ส่วนที่การผลิตที่ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ก็ใช้ฐานการผลิตประเทศเพื่อนบ้านแทนเพราะมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนหลายอย่าง
          สศช.ดันเขตศก.ไฮเทคโนโลยี
          นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.กำลังพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะต่อไป โดยเน้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เบื้องต้นมีพื้นที่ 3 แห่งที่มีศักยภาพคือ นครราชสีมา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เพราะสามารถเชื่อมโยงกับนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และยังมีแรงงานทักษะสูงจำนวนมาก ตอนนี้มีฮอนด้าที่พร้อมจะย้ายฐานการวิจัยและพัฒนามาที่ประเทศไทย
          "จะเร่งโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้อย่างแน่นอน โดยการพัฒนานวัตกรรม ตอนนี้ยังมีอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของไทยที่พัฒนามาเป็นเอสเอสดีอีกด้วย โดยการทำเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว จะมีมาตรการจูงใจทั้งมาตรการภาษีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อีก 300%" นายอาคมกล่าว
          ลุยต่อเขตศก.พิเศษท่องเที่ยว
          นายอาคมกล่าวว่า นอกจากนี้ยังเตรียมส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น จ.ภูเก็ต เมืองพัทยา จ.ชลบุรี และเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี โดยอาจมีร้านค้าปลอดภาษี และยังพัฒนามหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านการวิจัยให้เป็นสวนวิทยาศาสตร์ เน้นการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย
          นายอาคมกล่าวถึงความคืบหน้าของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนว่า มีความคืบหน้าไปมากแล้ว จัดหาที่ดินได้แล้วประมาณ 20,000 ไร่ โดยกรมธนารักษ์จะไปพิจารณาค่าเช่าก่อนว่าจะมีราคาเท่าไร หากสรุปราคาได้เสร็จ เชื่อว่าจะมีเอกชนสนใจเข้าไปลงทุนในพื้นที่ได้ ตอนนี้มีบางรายแสดงความสนใจแล้ว เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี สนใจตั้งโรงงานบริเวณ จ.สระแก้ว เพราะต้องการวัตถุดิบทางการเกษตรจากประเทศกัมพูชา และเครือสหพัฒน์สนใจตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
          สหภาพรฟท.ค้านตั้งกรมราง
          นายอำพล ทองรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคมนี้ สหภาพและผู้บริหาร รฟท.จะประชุมร่วมกันที่ จ.กาญจนบุรี เพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไขให้แผนฟื้นฟู รฟท.ที่ ครม.อนุมัติไปแล้ว 7 ยุทธศาสตร์ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะนำยุทธศาสตร์ที่สหภาพจัดทำขึ้นมาไปพิจารณารวมกับยุทธศาสตร์ของ รฟท.ด้วย
          นายอำพลกล่าวว่า สหภาพมี 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.ปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงแยกบัญชีต่างๆ ให้ชัดเจน และเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 2.การบริหารที่ดินรถไฟ โดยสหภาพเห็นด้วยกับการตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาดำเนินการ โดย รฟท.ถือหุ้น 100% และให้หน่วยธุรกิจดังกล่าวหาเอกชนมาลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่ง รฟท.มีพื้นที่ที่สามารถทำธุรกิจได้ประมาณ 8 หมื่นไร่ จากทั้งหมด 2-3 แสนไร่ 3.ปรับปรุงบริการรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า และ 4.ยกระดับพัฒนาบุคลากรรถไฟและโรงเรียนรถไฟ หาก รฟท.ดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องแปรรูป รฟท. โดยตั้งกรมการขนส่งทางรางมากำกับดูแลอีก ที่ผ่านมายืนยันตลอดว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งกรมการขนส่งทางราง
          สหภาพขสมก.ต้านโอนไปขบ.
          นายวีระพงศ์ วงแหวน ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร.ขสมก.) กล่าวว่า สัปดาห์นี้จะเรียกกรรมการบริการสหภาพหารือถึงกรณีที่จะมีการยกเลิกมติ ครม.วันที่ 11 มกราคม 2526 ซึ่งจะทำให้ ขสมก.ไม่มีอำนาจอะไรเหลืออยู่เลย จะกลายเป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถรายหนึ่งเท่านั้น เพราะอำนาจทั้งหมดจะถูกโอนไปให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดูแล รวมถึงอำนาจการพิจารณาให้รถร่วมบริการเข้ามาวิ่งบริการก็จะไม่มีด้วย
          นายวีระพงศ์กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสหภาพขอเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว โดย พล.อ.อ.ประจินเรียกฝ่ายบริหาร ขสมก.เข้าไปหารือ ดังนั้นจึงต้องการทราบรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อนำไปชี้แจงพนักงานทราบด้วย เบื้องต้นทางหน้าห้องแจ้งว่า พล.อ.อ.ประจินยังไม่ว่าง ในสัปดาห์นี้จะประสานไปอีกครั้ง หากยังไม่มีเวลาอีกก็จะเดินทางไปกระทรวงคมนาคมเลย ตอนนี้พนักงานยังไม่รู้รายละเอียดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างไร
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 26 พ.ค. 2558 (กรอบบ่าย)--