สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ปัญหาที่ซุปเปอร์บอร์ด ทางการศึกษาไม่ควรมองข้าม

ปัญหาที่ซุปเปอร์บอร์ด ทางการศึกษาไม่ควรมองข้าม

 ปัญหาที่ซุปเปอร์บอร์ด ทางการศึกษาไม่ควรมองข้าม

ณรงค์ ขุ้มทอง ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณโรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคมและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนควนเนียงวิทยา/โรงเรียนดาวนายร้อย
          การปฏิรูปการศึกษาของไทย กำลังเข้าสู่โหมดแห่งการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อน โดยท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ยังมีอีก 3 ปัจจัยสำคัญที่ซุปเปอร์บอร์ดควรนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและไม่ควรมองข้าม คือ
1.การผลิตผู้บริหารสถานศึกษา

          ผู้บริหารสถานศึกษาสำคัญที่สุดในโรงเรียนจึงมีคำกล่าวที่ว่า จะไม่มีผู้บริหารที่ดีในโรงเรียนที่แย่ และไม่มีผู้บริหารที่แย่ในโรงเรียนที่ดี ฉะนั้นผู้บริหารจะเป็นทุกอย่างในโรงเรียน ปัจจุบันส่วนหนึ่งของผู้บริหารที่ผู้เขียนได้สัมผัสและสังเกตพบว่าการคัดเลือกคนเข้าสู่ฝ่ายบริหารน่าจะเข้มข้นมากกว่านี้ ผ่านกระบวนการที่เข้มข้นและซับซ้อนมากกว่าที่เป็นอยู่ 
          คุณภาพการศึกษาจะดีหรือแย่ผู้บริหารมีส่วนสำคัญยิ่ง แต่ถ้าครูบรรจุใหม่แค่ 3-5 ปี ที่ไม่อยากสอนเพียงขยันอ่านหนังสือ ติวข้อสอบ แล้วได้เป็นผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารดังกล่าว ขาดประสบการณ์ในการบริหารคน บริหารชุมชน บริหารงบประมาณ บริหารวิชาการ และอื่นๆ ก็จะส่งผลเสียแก่ราชการไม่มากก็น้อย 
          ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะว่าการคัดเลือกผู้บริหารควรพิจารณาจากผู้มีประสบการณ์บวกกับคะแนนที่สอบเข้าด้วยกัน เราจะได้ผู้บริหารใน 1 คน ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ในคนคนเดียวกัน มิฉะนั้นแล้วเราจะมีผู้บริหารที่ทำข้อสอบได้เก่ง แต่ไม่เก่งในการบริหารจัดการโรงเรียน แล้วเราจะหาคุณภาพของครูของเด็กได้อย่างไร
2.โรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ

          ประเด็นโรงเรียนโครงการพิเศษในประเทศ ไทยมีอยู่หลายโครงการที่ผู้ใหญ่ทางการศึกษาคิดดีและหวังดีต่อการศึกษาของชาติและได้นำโรงเรียนดังกล่าวไปผูกโยงกับสถาบันสูงสุดของชาติ คือสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ภาพสะท้อนที่ออกมาไม่สมพระเกียรติของพระองค์ท่าน หรือพระบรมวงศานุวงศ์เท่าที่ควรบางโครงการ บางโรงเรียนถูกทิ้งปล่อยปละละเลย ขาดทั้งงบประมาณ ขาดการบริหารจัดการที่ดี 
          มีโครงการหนึ่งที่ผู้เขียนร่วมคิดร่วมทำโครงการ คือโครงการจัดตั้งโรงเรียนนวมินทราชูทิศ 5 ภูมิภาค เมื่อปี 2526-2528 โดยท่านเอกวิทย์ ณ ถลาง อดีตอธิการบดีกรมสามัญ มีท่านเจริญ ภักดีวานิช อดีตรองเลขาฯสพฐ. และท่านชวน หลีกภัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ร่วมโครงการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา มี 5 โรงคือ 1.นวมินทรพายัพ จ.เชียงใหม่ 2.นวมินทรทักษิณ จ.สงขลา 3.นวมินทรมัชฌิม จ.นครสวรรค์ 4.นวมินทรอีสาน จ.มุกดาหาร และ 5.นวมินทร กรุงเทพมหานคร ทั้ง 5 นวมินทร มีจุดประสงค์ให้โรงเรียนเหล่านี้เป็นศูนย์รวมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว/ถ่ายทอดโครงการพระราชดำริ ถ่ายทอดภารกิจของพระองค์ท่านที่ทรงเสียสละทุกหยาดเหงื่อแก่ปวงชนชาวไทยไว้ทั้ง 5 ภูมิภาค บ่งบอกถึงพระบรมเดชานุภาพทั่วแคว้นแดนไทย 
          นี่คือจุดประสงค์ที่ตั้งโรงเรียนตระกูลนวมินทร์ ขึ้นมา 
          แต่จากวันนั้นมา 30 ปี โรงเรียนดังกล่าวได้บริหารจัดการดังเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร ผู้บริหารระดับกระทรวง ทบวง กรม จนถึงระดับเขตพื้นที่ได้เข้าใจและเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด ได้รับการดูแล สนับสนุนในทุกๆ ด้านแค่ไหน หมายถึงรวมโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกโรงทั่วประเทศ 
          อยากฝากท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ควรดูแลโรงเรียนเหล่านี้เป็นพิเศษและให้สมพระเกียรติ เช่น การบริการจัดการ การคัดเลือกผู้บริหารและครูเป็นพิเศษ ไม่ใช่ใครก็ได้มาเป็นผู้บริหารและต้องรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียนดังกล่าวเป็นพิเศษ เช่น โรงเรียนตระกูลนวมินทร์ 5 โรง ยังมีหลายอย่างที่ไม่เหมือนและแตกต่าง หลักคิดครั้งแรกเป็นหนึ่งเดียวกันแต่พอเปลี่ยน ผู้บริหารระดับกระทรวง ทบวง กรม เขตพื้นที่, ผู้บริหารโรงเรียน สิ่งเหล่านี้ก็หายไป 
          นวมินทร์ 5 โรง ระยะหลังเหมือนต่างคนต่างคิดต่างทำไม่ว่าปรัชญา, วิสัยทัศน์และอีกหลายอย่างที่ควรเหมือนกันน่าจะเป็นไปในทางเดียวกันจะแตกต่างบ้างให้เป็นเนื้อหาและกิจกรรมเพราะอยู่คนละภูมิภาค แต่หลักใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันจะต้องอยู่และยั่งยืนตลอดไป ผู้เขียนอยากฝากผู้เกี่ยวข้องว่าถึงเวลาแล้วต้องปฏิรูปโรงเรียนดังกล่าวให้เป็นศูนย์รวมและเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์อย่างแท้จริงเสียที ทั้งๆ ที่ผู้บริหารทั้ง 5 โรง ก็พยายามบริหารจัดการอย่างเต็มที่เต็มความสามารถและทุกปีนวมินทราชูทิศทั้ง 5 โรง จะเข้าถวายรายงานความก้าวหน้าของโรงเรียนต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
          แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็นเอกลักษณ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย/วิธีการ/อัตลักษณ์/เอกลักษณ์ ของโรงเรียนทั้ง 5 โรง ยังไม่เป็นหนึ่งเดียว จึงเห็นควรเสนอผ่านซุปเปอร์บอร์ดพิจารณาดำเนินการเป็นพิเศษและทุกโรงเรียนในประเทศไทยที่อยู่ในโครงการเฉลิม พระเกียรติ
3.การปฏิบัติตามนโยบาย

          ที่ผ่านมากระทรวงหรือรัฐบาลมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนด้านการศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีมากแต่พอปฏิบัติก็จะสร้างปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวและส่งผลถึงคุณภาพ เช่น
3.1 นโยบายปลอด 0 ปลอด ร

          เป็นนโยบายที่ดีมากไม่ต้องการให้เด็กติด 0 และ ร แต่ในทางปฏิบัติโรงเรียนนำไปขับเคลื่อนสั่งการแถมบังคับ เสมือนว่าไม่ต้องการให้ครู ผู้สอนตัดสินผลนักเรียนได้ 0 และ ร ผลก็คือ วิชาใดนักเรียนติด 0 และ ร มาก จะถูกเพ่งเล็งจาก ผู้บริหาร จากฝ่ายวิชาการ จึงเกิดวิกฤตใหม่คือครูก็จะปล่อยให้นักเรียนผ่านไปโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนและขณะนี้เกิดกระแสในสังคมเด็กขึ้นคือ ติด 0 และ ร ไม่ต้องวิตกกังวลสุดท้ายโรงเรียนและครูจะให้ผ่านเอง นักเรียนจึงไม่สนใจที่จะเรียน ไม่สนใจที่จะเข้าเรียนหรือส่งงานหรือทำกิจกรรมตามเนื้อหาของหลักสูตร 
          เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราจะถามหาคุณภาพได้อย่างไร 
          นโยบายปลอด 0 ปลอด ร หลักคิดดีมาก แต่แย่ที่สุดคือหลักปฏิบัติและตามประเมิน
          3.2 การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผู้เขียนเห็นว่าเราเตรียมมาเยอะและมั่นใจว่าเราพร้อม แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าปรับปรุงและแก้ไขคือ การเปิดปิดระหว่างโรงเรียนระดับประถมและมัธยมไม่สอดคล้องกับการเปิดปิดของมหาวิทยาลัยต่างๆ แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็สร้างปัญหาปั่นป่วนไม่น้อยโดยเฉพาะกับบุคลากรและผู้ปกครองนักเรียน จะต้องปรับทั้งเวลาและภาระงานที่รับผิดชอบทั้งในงานราชการและงานส่วนตัวและที่ส่งผลด้านการบริการจัดการเกี่ยวกับการฝึกสอน ฝึกงานของนิสิต นักศึกษากับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 
          เพราะโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วทั้งภาครัฐและเอกชนยังยึดแนวทางการเปิดปิดแบบเดิมคือ เปิด พ.ค.ของทุกปี แต่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นเดือน ส.ค. เพื่อรองรับอาเซียน ฉะนั้นเวลาทั้ง 2 องค์กรไม่ตรงกันโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตร/ปรับเวลา/ปรับกิจกรรม ปรับหลักสูตรเพื่อให้ทันกับเวลาเปิดเรียนของโรงเรียนที่นักศึกษาไปฝึกงาน นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน และนี่คือความล้มเหลวในการบริหารจัดการทางการศึกษาของไทยเราอีกบทหนึ่งเช่นกัน
          3.3 การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหา วิทยาลัย
          การรับนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สืบเนื่องจากนโยบายหรือผลจากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบหรืออย่างไร ปัญหาคือ ขณะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กำลังเรียนได้เพียงหนึ่งภาคเรียนคือราวๆ เดือน พ.ย.-ธ.ค. มหาวิทยาลัยบางแห่งได้เปิดรับนักศึกษาใหม่ หรือวิธีรับตรงและได้ทำการคัดเลือกและประกาศผลราวๆ เดือน ธ.ค.ม.ค. ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงกับโรงเรียนและคุณภาพ คือครูสอนในเนื้อหาตามหลักสูตรยังไม่ครบถ้วน/หรือครูต้องเร่งสอนให้จบไปก่อน เพื่อเด็กจะได้ไปสอบ @ เมื่อผลสอบออกมาและนักเรียนทราบว่าตนเองได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยตามที่ตนต้องการแล้ว นักเรียนก็จะไม่สนใจจะเข้าเรียนในภาคเรียนที่ 2 อีกเลยสร้างภาระและความหนักใจกับครูผู้สอนอย่างมากในการคิดให้นักเรียนกลับเข้าห้องเรียน ติดตามชิ้นงานที่มอบหมาย เป็นต้น สุดท้ายถ้ามีปัญหา ครูจำเป็นต้องปล่อยให้ผ่านๆ ไป ทั้งๆ ที่ในภาคเรียนที่ 2 เวลาในการเรียนและเนื้อหาแทบจะไม่ได้เรียนไม่ได้ฝึกให้เป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนดได้
          3.4 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนงานศิลปหัตถกรรมของนักเรียนระดับชาติเป็นงานที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเจ้าภาพเพื่อรวบรวมและคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจัดคัดเลือกตั้งแต่ระดับจังหวัด/ระดับภาค/และระดับประเทศ ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถส่งเสริมความสามารถนักเรียนได้หลากหลาย นั่นคือ เบื้องหน้าของผลสำเร็จ ถ้าไปดูเบื้องหลังแห่งความสำเร็จทั้งในด้านบริหารจัดการในแง่เชิงเศรษฐศาสตร์ เมื่อมาบวกลบคูณหารแล้วระหว่างผลได้กับผลเสียอันไหนจะมีมากกว่ากัน 
          ผู้เขียนในฐานะเคยเป็นผู้รับผิดชอบงานศิลปหัตถกรรมในระดับโรงเรียน (ร.ร.ขนาดใหญ่) จะมีนักเรียนเข้าร่วมครั้งละ 100-200 คนต่อปี ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งระดับจังหวัด/ระดับภาค/ระดับประเทศแล้ว ประมาณ 1,200,000-1,500,000 บาท ถ้ามีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งประเทศทั้งประถมและมัธยม โรงเรียนขนาดใหญ่ และใหญ่พิเศษ 1,000 โรง จะใช้เงินโดยประมาณ 1,000-2,000 กว่าล้าน นับเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ (เฉพาะมัธยม) ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมการต่างๆ ในโรงเรียนครูที่รับผิดชอบและฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ไม่ต้องสอนหรือสอบก็ไม่เต็มที่นักเรียนที่ได้เป็นตัวแทนจะต้องสละเวลาเตรียมตัวฝึกซ้อม และไม่ได้เข้าเรียนในชั่วโมงเรียนโดยใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 วัน หรือมากกว่านั้น 
          แต่ถ้าโรงเรียนใดได้รับคัดเลือกประเภททีม เช่น วงดนตรีลูกทุ่งจะมีนักเรียนเจ้าหน้าที่ต่างๆ ร่วม 150-200 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง/ค่าเหมารถ/ค่าที่พัก/ค่าอาหารและอื่นๆ อีกมากมาย และที่น่าสงสารเด็กนักเรียนและโรงเรียนเตรียมการอย่างดีแต่เวลาการแสดงความสามารถประมาณ 10-20 นาที และบางกิจกรรมเมื่อทำพิธีเปิดเสร็จประธานยังไม่เดินทางกลับ บูธแสดงต่างๆ ก็เริ่มเก็บข้าวของเพื่อเดินทางกลับต่างจังหวัด 
          นี่คือภาพลวงตาทางการศึกษาของไทย จึงอยากฝากซุปเปอร์บอร์ดลองพิจารณาดูงานนี้ควรได้รับการปฏิรูปและจัดการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่หรือยกเลิกไปแล้วคิดใหม่

          ข้อมูลข้างต้นเป็นการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น ถ้ารวมการบริหารจัดการในวงกว้างด้วยแล้ว น่าจะใช้งบประมาณปีละ 5000-10,000 ล้านบาท และวิธีคิดที่นำผลงานการแข่งขันไปผูกโยงกับความดีความชอบของผู้บริหารของครู-อาจารย์ และการมีวิทยฐานะแก่ครูอาจารย์ด้วยแล้ว ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลดี แต่ผลภาพรวมคุ้มค่าหรือไม่หรือนำเงินเหล่านี้ไปพัฒนาครู พัฒนาเด็ก สร้างแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียน
          ทุกประเด็นที่ผู้เขียนนำปัญหาทางการบริหารจัดการทางการศึกษาของไทยมาสะท้อนให้เห็นและควรปรับปรุงแก้ไข โดยฝากผ่านซุปเปอร์บอร์ดของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ เพื่อเป็นข้อมูลในการขับเคลื่อน และขอเป็นกำลังใจท่านนายกรัฐมนตรีและคณะ เดินหน้าประเทศไทยต่อไป ประชาชนพร้อมให้กำลังใจและรออัศวินม้าขาวซุปเปอร์บอร์ดมาตอบโจทย์คุณภาพการศึกษา เกิดคุณภาพแก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง แต่ขออย่างเดียวอย่าเป็นม้าแกลบ และม้าลำปางก็แล้วกัน

--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 10 เม.ย. 2558 (กรอบบ่าย)--