สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก 123 ปี กระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน

123 ปี กระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน

123 ปี กระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน

กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยยกระดับ คุณภาพการศึกษา สร้างโอกาสให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างทั่วถึง และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้พลเมืองมีคุณภาพ มีความสมานฉันท์ปรองดอง มีระเบียบวินัย มีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทยสามารถเสริมสร้างความมั่นคงของชาติและศักยภาพในการแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
          วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นวันคล้ายวันสถาปนา 123 ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตลอดระยะเวลา 123 ปีที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้เพิ่มบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของชาติโดยส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่ประชาชน ตลอดจนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสเพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตและเตรียมพร้อม ที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยสมบูรณ์
          รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดหลักของคุณภาพและการเข้าถึงประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาตั้งแต่การศึกษาชั้นต้นจนถึงระดับสูงให้มีศักยภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งขยายโอกาสทางการศึกษาในการเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะนักเรียน นักศึกษาให้เติบโตในโลกที่เป็นจริงและเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อผลิตนวัตกรรม โดยสร้างบุคลากรให้อยู่บนพื้นฐานของการเป็นคนเก่งและดีมีคุณธรรมของสังคมและประเทศชาติเป็นหลัก
          ในรอบปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการโครงการที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อน การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ครอบคลุม 6 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ การผลิตและพัฒนาครู การเพิ่มและกระจายโอกาส การปฏิรูประบบบริหารจัดการ การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการวางระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
          การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้
          การนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ภาคการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นศูนย์ขับเคลื่อนและเจ้าภาพหลักยุทธศาสตร์การบูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2557 - 2560) ภาคการศึกษา คัดเลือกและยกย่องสถานศึกษาพอเพียง จำนวน 14,582 แห่ง และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคการศึกษา จำนวน 47  แห่ง
          ส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ บูรณาการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษา ทุกระดับ จำนวน 36,625 แห่ง และจัดค่าย "เยาวชนคนรุ่นใหม่ใฝ่ค่านิยม" 64,900 คน ใน 928 อำเภอ
          จัดค่ายและกิจกรรมสาหรับเด็กเพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยมีโครงการสร้างประสบการณ์แก่นักเรียน นักศึกษาในช่วงปิดภาคเรียน และโครงการ MOE Summer Camp 2015 เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีสุขภาพแข็งแรง ให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและความคิด เน้นกิจกรรมที่มีสารประโยชน์ ซึ่งมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ 299 กิจกรรม ให้บริการได้ครอบคลุมเด็ก-เยาวชน 725,318  คน
          สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ สร้างโรงเรียนต้นแบบด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาใน 5 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา เพื่อให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาหรือออกนอกระบบทางการศึกษา หลังจบการศึกษาภาคบังคับ แต่มีความพร้อมและมีศักยภาพด้านกีฬา ได้มีช่องทางในการพัฒนาศักยภาพด้านการกีฬา และเข้าสู่ระบบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
          การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ
          จัดทายุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ซึ่งคณะอนุกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาด้านการผลิตและพัฒนาครู เห็นชอบแล้ว ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การปฏิรูประบบและรูปแบบการผลิตครู 2) การปฏิรูประบบและรูปแบบการพัฒนาครู 3) การปฏิรูประบบการใช้ครูและระบบบริหารงานบุคคลของครู  4) การปฏิรูปการวิจัยของสถาบันผลิตและพัฒนาครู และ 5) การสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู
          แก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยลดภาระงานของครู เพื่อคืนครูสู่ห้องเรียน โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย และเลื่อนวิทยฐานะเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เน้นผลที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูอาชีวศึกษา โดยปรับเรื่องการออกใบประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษาในสาขาขาดแคลนทั้ง ระยะเร่งด่วน และระยะยาว ปรับระบบบรรจุครู โยกย้ายครู และการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครู เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ยากลำบาก-ห่างไกล ตลอดจนแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
          การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
          โครงการทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ (Technician & Technologist Scholarship: TTS) ซึ่งการจัดสรรทุนให้กับผู้เรียนสายอาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลางเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการภาคเอกชน และท้องถิ่นรวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
          จัดระบบการฝึกอาชีพเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มลดความเหลื่อมลาและโอกาสคนพื้นที่ โดยมี กศน. ตำบล 7,424 แห่ง ใน 5 ภูมิภาคเป็นฐานฝึกอบรมให้แก่ประชาชน 5 หลักสูตรกลุ่มอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม หลักสูตรกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม หลักสูตรกลุ่มอาชีพพาณิชยกรรม และบริการ  หลักสูตรกลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์ และหลักสูตรกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง  มีผู้เข้ารับการอบรม รวมทั้งสิ้น 256,329 คน
          โครงการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับผู้สูงอายุ โดยเตรียมความพร้อมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2557 ได้จัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น  277,968 คน
          การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน  โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (post 2015)  พ.ศ. 2559-2563 จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาเซียนศึกษาในภูมิภาค 13 แห่ง จัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมต้นแบบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงรณรงค์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และภาษาประเทศคู่เจรจา โดยส่งเสริมฝึกทักษะการสื่อสารของนักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากร ผลิตสื่อ จัดเวทีประกวด  โครงการอาสาสมัครช่วยสอน
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 1 เม.ย. 2558 (กรอบบ่าย)--