สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ปฏิรูปศึกษาในรธน.เน้นแก้โกงเรียนจบมีงานทำ’อมรวิชช์’เผยปรับโครงสร้างศธ.ต้องตอบโจทย์ส่วนรวมได้ประโยชน์

ปฏิรูปศึกษาในรธน.เน้นแก้โกงเรียนจบมีงานทำ’อมรวิชช์’เผยปรับโครงสร้างศธ.ต้องตอบโจทย์ส่วนรวมได้ประโยชน์

ปฏิรูปศึกษาในรธน.เน้นแก้โกงเรียนจบมีงานทำ’อมรวิชช์’เผยปรับโครงสร้างศธ.ต้องตอบโจทย์ส่วนรวมได้ประโยชน์ 

รัฐสภา * อมรวิชช์เผยเตรียมเสนอร่างปฏิรูปการศึกษาให้ กมธ.ร่าง รธน.พิจารณา แนวทางหลักเน้นแก้ปัญหาคอร์รัปชัน คนเรียนจบแล้วมีงานทำ แก้เหลื่อมล้ำ ชี้ปรับโครงสร้าง ศธ. ถ้าทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ แก้โกง บริหารจัดการดีขึ้นก็ทำได้
          นายอมรวิชช์ นาครทรรพ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทุกคนให้ความสำคัญกับการศึกษามาก และในร่างเนื้อหาด้านการศึกษาที่เสนอไปนั้น ผ่านความเห็นของ กมธ.ทุกด้าน ไม่ได้มีการตัดแก้อะไรมาก และจะมีประชุมเพื่อรวบรวมความเห็นเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคมนี้ และการดำเนินงานด้านการศึกษาถือว่ามีการประสานงานกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นอย่างดี ทำให้แนวคิดเรื่องการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้านการศึกษาในครั้งนี้คือ การขจัดการทุจริตคอร์รัปชันในระบบการศึกษา สร้างธรรมาภิบาล และก่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและประเทศชาติ และยังคงที่จะต้องแก้ปัญหาการเรื่องความเหลื่อมล้ำ การแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของวิชาการอีกต่อไป แต่เรียนจบไปต้องสามารถหางานทำได้ สุดท้ายคือการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ
          นายอมรวิชช์กล่าวต่อว่า เรื่องการปรับโครงสร้าง ศธ. ตนคิดว่าหากปรับโครงสร้างแล้วเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เช่น ใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการน้อยลง ทำงานได้มีคุณภาพมากขึ้น ลดการทุจริตลงได้ ก็ควรที่จะปรับ แต่หากว่าปรับไปแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องทุจริต ทำงานไม่มีคุณภาพ ก็ไม่ควรทำ การปรับโครงสร้างในความเห็นของตนต้องทำไปโดยเห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง จากการที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้มอบให้แต่ละองค์กรของ ศธ. ไปศึกษาเรื่องของการปรับโครงสร้าง สุดท้ายแล้วจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวัดโดยผ่าน 3 หลักเกณฑ์ คือ 1.ประโยชน์ของประชาชน 2.การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3.การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน หากเข้าเกณฑ์ 3 ข้อดังกล่าวได้ ก็ควรจะให้มีการปรับโครงสร้าง
          "เพราะหากถามความเห็นของ สปช. ผมคิดว่าการจะดำเนินการอะไรควรที่จะมีเกณฑ์ขึ้นมากำกับ เพื่อทำให้การดำเนินการนั้นก่อประโยชน์อย่างแท้จริง" นายอมรวิชช์กล่าว.--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์