สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ก่อนฟันธงคลอดกระทรวงน้องใหม่!!

ปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ก่อนฟันธงคลอดกระทรวงน้องใหม่!!

ปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ก่อนฟันธงคลอดกระทรวงน้องใหม่!!

เห็นภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ สำหรับแนวทางปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หลังจากบิ๊กเข้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ ศธ. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปทบทวนว่าควรจะแยกออกจาก ศธ. หรือไม่ เพราะโครงสร้าง ศธ. ปัจจุบันใหญ่และอุ้ยอ้ายเกินไป ทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัวษ
          หน่วยงานที่ขอแยกตัวชัดเจน และยืนยันความต้องการมาแต่ต้น คือในส่วนของ สกอ. ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัย ถึงมือบิ๊กเข้ เรียบร้อยก่อนใครเพื่อน!!
          สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับจะเหมือนกัน ต่างกันในส่วนของ พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา จะไม่มีหน่วยงานด้านการวิจัย คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้ามาอยู่ภายใต้กระทรวงนี้
          ฟังจากเสียงรอบด้านทั้งมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือหน่วยงานที่เชื่อมโยงกับอุดมศึกษา แทบจะเกือบ 100% ที่ประเทศไทยจะมีกระทรวงน้องใหม่ อย่างกระทรวงการอุดมศึกษาเกิดขึ้น
          ล่าสุด นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ออกมาเปิดเผยถึงการหารือมื้อค่ำอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง กลุ่มอธิการบดีที่เป็นสมาชิกที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กว่า 20 แห่ง กับ นาย กฤษณพงศ์ กีรติกร  รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ซึ่งในการหารือ ได้มีการถามย้ำถึงนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของนายกฤษณพงศ์ ในฐานะที่กำกับดูแลอุดมศึกษา ก็ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเห็นด้วยที่ควรต้องแยก เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว และขอให้เร่งเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็ว
          หากเป็นไปตามนั้น ก็คงจะได้เห็นโฉมหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา ในอีกไม่เกิน 4 เดือนข้างหน้าแน่นอน!!!
          ส่วน สอศ. ที่ก่อนหน้านี้ เสนอ 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก แยกออกมาเป็นกระทรวงการอาชีวศึกษา และแนวทางที่สอง อยู่ใน ศธ. เหมือนเดิม แต่ปรับโครงสร้าง สอศ. ให้มีหน่วยงานระดับกรม ดังนี้ สำนักงานการอาชีวศึกษาเอกชน สำนักงานการอาชีวศึกษาชุมชน สำนักงานการอาชีวศึกษานอกระบบ สำนักงานส่งเสริมอาชีวศึกษาทวิภาคี สำนักงานพัฒนามาตรฐานและวิจัยอาชีวศึกษา และสำนักอำนวยการ
          ก็เปลี่ยนใจเสนอทางเลือกเดียว ขอแยก สอศ. ออกมาเป็นกระทรวงการอาชีวศึกษา ใน 2 รูปแบบ คือ ตั้งกระทรวงการอาชีวศึกษา และมีหน่วยงานที่เป็นกรมต่างๆ ภายใต้กระทรวง อาทิ กรมการอาชีวศึกษาเอกชน กรมสถาบันการอาชีวศึกษา กรมการอาชีวศึกษาชุมชน กรมการอาชีวศึกษานอกระบบ กรมการพัฒนามาตรฐานและวิจัยอาชีวศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานรัฐมนตรี และรูปแบบที่ 2 จัดตั้งเป็นกระทรวง และมีการบริหารจัดการในรูปแบบเขตพื้นที่การอาชีวศึกษา 76 เขตพื้นที่
          งานนี้ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ให้เหตุผลว่า ข้อเสนอเดิมที่จะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับกรมใน สอศ. นั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะลักษณะโครงสร้างดังกล่าว จะคล้ายกับโครงสร้างของสำนักงานปลัด ศธ. ที่มีหน่วยงานระดับกรมในการกำกับดูแลทั้ง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
          ซึ่งสุดท้ายการดำเนินการเรื่องต่างๆ ก็ต้องรอการมอบอำนาจจากปลัด ศธ. ทำให้ไม่เกิดความคล่องตัวอยู่ดี ดังนั้น ข้อเสนอที่ให้แยกออกมาเป็นกระทรวงการอาชีวศึกษา จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
          ขณะที่ทางด้าน นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา ก็ได้สรุปผลการสอบถามความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก รวมถึงอดีตผู้บริหาร
          ส่วนใหญ่เห็นว่า สกศ. น่าจะกลับไปมีลักษณะโครงสร้างในรูปแบบเดิม ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี
          สามารถกำหนดนโยบายการศึกษาในภาพรวมและนำไปสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมได้ดีกว่าอยู่ภายใต้ ศธ.
          สาแหรกขาดครั้งนี้ คงถึงเวลาที่ ศธ. ต้องกลับมาทบทวนการทำงานของตัวเองอย่างจริงจัง ว่าแท้จริงแล้ว ปัญหาเกิดจากโครงสร้างที่ใหญ่อุ้ยอ้ายเกินไป จนทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัว
          หรือจริงๆ อยู่ที่ระบบการทำงานที่ล่าช้า ล้าหลัง ไม่กระฉับกระเฉง จนตามใครไม่ทันกันแน่!!
          เพราะนักวิชาการฝีปากกล้า อย่าง นายสมพงษ์  จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า ปัญหาของ ศธ. ไม่ได้อยู่ที่โครงสร้างใหญ่หรืออุ้ยอ้ายเกินไป แต่เป็นเพราะระบบการทำงานขาดความคล่องตัว ไม่กระฉับกระเฉง ติดรูปแบบราชการเดิมๆ ที่มีขั้นตอนค่อนข้างมาก จนทำให้งานต่างๆ ไม่มีความคืบหน้าหรือพัฒนาไปได้เท่าที่ควร
          ดังนั้น จึงเห็นด้วยที่อุดมศึกษา ควรจะต้องแยกตัวออกมาจาก ศธ.
          แต่ก็อยากให้กำหนดภารกิจ การทำงานให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร ที่จะปฏิรูปอุดมศึกษาให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ไม่ใช่แยกมาเป็นกระทรวงเพื่อให้ใหญ่ขึ้น มีโครงสร้างและงบประมาณเป็นของตนเองเท่านั้น ขณะที่ สกศ. นั้น เห็นชัดเจนว่าตั้งแต่มาอยู่กับ ศธ. แทบไม่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางนโยบายการศึกษาของประเทศ แผนงานต่างๆ ที่ สกศ. คิดมา ไม่ได้รับการสานต่อหรือนำไปปฏิบัติ ต่างกับตอนที่ขึ้นตรงกับนายกฯ ที่แผนงานต่างๆ จะถูกนำไปปฏิบัติ การทำงานมีความเป็นรูปธรรมมากกว่าปัจจุบัน
          "ส่วน สอศ. นั้น คิดว่าควรต้องอยู่กับ ศธ. ต่อไป เพราะยังต้องคำนึงถึงระบบการส่งต่อเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศต้องการเพิ่มบุคลากรในสายอาชีพให้มากขึ้น ดังนั้น สอศ. จึงถือว่ามีความสำคัญที่จะช่วยบ่มเพาะค่านิยมในเรื่องการเรียนสายอาชีพ ซึ่งต่อไปจะต้องเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ การการปรับโครงสร้าง อยากให้คิดถึงความเหมาะสม มากกว่าที่จะคิดว่าเป็นโอกาสที่จะต้องแยกออกไป เพราะไม่เช่นนั้นก็จะมีกระทรวงเต็มไปหมด ทั้งที่ไม่จำเป็น" นายสมพงษ์กล่าว
          ยังต้องจับตาดูว่าครูใหญ่เข้ จะปฏิรูปโครงสร้างไปในทิศทางใด และจะมีกระทรวงน้องใหม่ออกมาอีกเท่าไร แต่ที่สำคัญการจะปรับอะไร ก็อยากให้มองถึงผลสะท้อนของคุณภาพการศึกษาที่จะเกิดในอนาคตอย่างแท้จริง ไม่ใช่เน้นปฏิรูปโครงสร้างจนการศึกษาไม่พัฒนาเช่นเดียวกับ 10 ปีแห่งการปฏิรูปที่ผ่านมา!!!--จบ--

          --มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 - 27 พ.ย. 2557--