สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ’อุดมศึกษา-อาชีวะ’เอาแน่แยกพ้น’ศธ.’ตั้งกระทรวงต่างหากสกศ.ขอขึ้นตรงนายก

’อุดมศึกษา-อาชีวะ’เอาแน่แยกพ้น’ศธ.’ตั้งกระทรวงต่างหากสกศ.ขอขึ้นตรงนายก

สกอ.-สกศ-กอศ.ได้ข้อสรุปปรับโครงสร้าง แยกตัวจาก ศธ.เสนอ'บิ๊กเข้'          

              ความคืบหน้ากรณี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ศึกษาว่าควรจะแยกออกมาจาก ศธ.หรือไม่ เนื่องจากโครงสร้าง ศธ.ในปัจจุบันใหญ่เกินไป ทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัว โดยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สกอ.สรุปผลศึกษาเสนอ พล.ร.อ.ณรงค์ เพื่อพิจารณาตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้แยก สกอ.จัดตั้งเป็น กระทรวง ส่วนจะใช้ชื่อกระทรวงการอุดมศึกษา หรือกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัย ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณา พร้อมกันนี้ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัย ประกอบขึ้นไปด้วย          

             สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับส่วนใหญ่เหมือนกัน จะต่างกันในส่วนของร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา จะไม่มีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้ามาอยู่ภายใต้กระทรวงนี้ ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาและวิจัย จะมี 2 หน่วยงานดังกล่าวมาอยู่ภายใต้สังกัดด้วย           นพ.กำจรกล่าวต่อว่า สำหรับสาระอื่นๆ ของร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยโดยผ่านการจัดหางบประมาณให้ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการแข่งขันกับนานาประเทศ ส่วนนโยบายของนายกรัฐมนตรี ต้องการให้สร้างนักกีฬานั้น สกอ.พร้อมจะเน้นด้านกีฬา แต่คงไม่ถึงกับมีมหาวิทยาลัยกีฬาโดยเฉพาะ 2.สร้างบุคลากรด้านวิชาชีพต่างๆ ที่ไทยยังขาดแคลน และ 3.ให้โอกาสกับคนที่ขาดโอกาส เป็นต้น          

           "เดิมข้อสรุปที่ชาวอุดมศึกษาเห็นตรงกันคือ แยกจาก ศธ.จัดตั้งเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา โดยไม่มีหน่วยงานด้านวิจัยอย่าง สกว.และ วช.เข้ามาอยู่ เพราะมองว่าทั้ง 2 หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา แต่ผมเกรงว่าถ้าเสนอไปแค่ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา อาจมีผู้เห็นว่าควรดึง สกว.และ วช.มาอยู่ภายใต้กระทรวงนี้ด้วย ผมจึงได้เสนอไปทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ตัดสินใจเลือก และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่ต้องนำไปประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นอีก เพราะเห็นตรงกันหมดแล้ว โดยกระบวนการทั้งหมด คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน น่าจะจัดตั้งกระทรวงใหม่ได้"           นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า สกศ.ได้สอบถามความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายใน และภายนอก รวมถึงอดีตผู้บริหาร สกศ. ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า สกศ.ควรขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดนโยบายการศึกษาในภาพรวมได้ ขณะเดียวกัน ยังเห็นว่าควรปรับลดจำนวนคณะกรรมการสภาการศึกษาลง จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 70 คน ทำให้การตัดสินใจกำหนดทิศทางต่างๆ เป็นไปได้ยาก โดยให้เหลือเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถทางการศึกษาระดับประเทศจริงๆ ไม่เกิน 10-15 คน และให้มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาของประเทศในภาพรวมทั้งหมด และให้คณะกรรมการ สกศ. มีอายุการทำงานยาวพอสมควร เพื่อกำกับนโยบายด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นำข้อเสนอทั้งหมดเข้าสู่ที่ประชุมผู้บริหารองค์หลักของ ศธ.วันที่ 19 พฤศจิกายนนี้          

           ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนปฏิรูปอาชีวศึกษาในทุกมิติ ทั้งหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคี ไอซีที การปรับภาพลักษณ์อาชีวะ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้าง คาดว่าจะสรุปประเด็นทั้งหมดภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อนำเสนอ พล.ร.อ.ณรงค์พิจารณาภายในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงจะเสนอให้แยก สอศ.ออกมาจัดตั้งเป็น กระทรวงการอาชีวศึกษา ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแรก กระทรวงการอาชีวศึกษา มีหน่วยงานที่เป็น กรมต่างๆ ภายใต้สังกัด อาทิ กรมการอาชีวศึกษาเอกชน กรมสถาบันการอาชีวศึกษา กรมการอาชีวศึกษาชุมชน กรมการอาชีวศึกษานอกระบบ กรมการพัฒนามาตรฐานและวิจัยอาชีวศึกษา          

           รูปแบบที่ 2 กระทรวงการอาชีวศึกษา แต่มีบริหารจัดการในรูปแบบเขตพื้นที่การอาชีวศึกษา 76 เขตพื้นที่ ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงแรงงาน และวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ที่มีการจัดการเรียนการสอนสายอาชีวะเช่นเดียวกันนั้น สอศ.จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่จะดำเนินการในลักษณะเครือข่ายให้ความร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ         

         "ข้อเสนอที่ให้แยกออกมาเป็นกระทรวงการอาชีวศึกษา ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุด หลังจากนี้ สอศ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมถึงจัดทำโพลสอบถามความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนสรุปผลเสนอให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาต่อไป" นายชัยพฤกษ์กล่าว          

           นายชัยพฤกษ์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการเรียกบรรจุผู้สอบขึ้นบัญชีมาบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ว่า สอศ.ได้บรรจุกลุ่มสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้สอบขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมด 3,476 คน และ สอศ.ได้เรียกบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างทั้งหมดไปแล้ว 1,342 คน ที่เหลืออีก 2,134 คน ไม่มีตำแหน่งว่างที่จะรับ และทั้งหมดได้ขึ้นบัญชีครบ 2 ปีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จึงต้องยกเลิกไปตามเงื่อนไขที่กำหนด          

           นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวในส่วน สพฐ. ว่ายังไม่มีข้อมูลว่าผู้ที่ผ่านการสอบขึ้นบัญชีได้ และรอเรียกบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีกี่คน แต่โดยหลักการแล้ว ผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้จะถูกทยอยเรียกบรรจุตามลำดับคะแนนในแต่ละสาขาวิชาเอกตามเขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้ไปสอบภายใน 2 ปี ตามตำแหน่งอัตราว่างที่มีอยู่ในแต่ละเขตพื้นที่ฯ กรณีที่หลายคนยังไม่ถูกเรียกตัว อาจเป็นเพราะยังไม่มีอัตราบรรจุ ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ผ่านมาได้อนุมัติกรอบอัตรากำลังจากการเกษียณอายุราชการในปีงบฯ 2556 ของ สพฐ.เฉพาะครูผู้ช่วย 8,462 อัตรา และขณะนี้ได้จัดสรรอัตราไปให้เขตพื้นที่ฯแล้วประมาณ 7,000 อัตรา ดังนั้น เร็วๆ นี้ น่าจะมีการทยอยเรียกผู้ที่สอบขึ้นบัญชีมาบรรจุแต่งตั้ง           "ที่ผ่านมาหลายเขตพื้นที่ฯ ยังไม่มีอัตราเรียกบรรจุ แต่ขอให้ผู้สอบขึ้นบัญชีสบายใจได้ว่าส่วนใหญ่จะได้รับการเรียกบรรจุอยู่แล้ว แต่อาจจะมีบ้างกรณีผู้ที่สอบได้ในลำดับท้ายๆ อาจจะไม่ได้ถูกเรียกบรรจุทุกคน" นายกมลกล่าว--จบ--          

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน