สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ’ณรงค์’เผย กมธ.หนุนปรับโครงสร้าง ศธ. 

’ณรงค์’เผย กมธ.หนุนปรับโครงสร้าง ศธ. 

’ณรงค์’เผย กมธ.หนุนปรับโครงสร้าง ศธ.  เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงภาพรวมเกี่ยวกับปัญหาในการจัดการศึกษา รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกันในหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่เรื่องใหญ่ในระดับโครงสร้าง ไปจนถึงเรื่องย่อยๆ รวมทั้งดูแนวทางความร่วมมือระหว่าง ศธ.กับ กมธ.การศึกษาฯโยงไปถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ เรื่องโครงสร้าง ศธ.ที่หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าควรปรับปรุงจะต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องมีการแก้กฎหมาย และบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ และองค์กรควรจะเป็นรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายร่วมกันคิดเพื่อให้การทำงานสามารถเชื่อมโยงกันได้ ในส่วนของ กมธ.การศึกษาฯ มีความเห็นในทิศทางที่สอดคล้องว่าโครงสร้างของ ศธ.ควรต้องปรับปรุง ทั้งส่วนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แต่ยังไม่เป็นข้อยุติว่าจะต้องแยกออกจาก ศธ.หรือไม่           พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวต่อว่า กมธ.การศึกษาฯ ยังหารือปัญหาการรับนิสิตนักศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งการคัดเลือกเข้าศึกษาระบบรับตรง และระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิสชั่นส์ ที่ยังมีข้อดีข้อเสีย ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ ควรปรับสัดส่วนการรับ อาทิ รับผ่านระบบแอดมิสชั่นส์ 30% ที่เหลืออีก 70% ให้ไปรับผ่านระบบรับตรง เพื่อให้มหาวิทยาลัยคัดเลือกนิสิตนักศึกษาได้ตรงตามความต้องการ แต่ขอให้เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษได้เข้าเรียนในระบบโควต้า อาทิ ดนตรี กีฬา เป็นต้น แต่ก็ขึ้น อยู่กับมหาวิทยาลัย ซึ่ง ศธ.ไม่สามารถไปกำหนดได้           พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวอีกว่า ส่วนที่ที่ประชุมองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือเกี่ยวกับการลดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ให้เหลือเฉพาะวิชาหลัก 4 วิชา จากเดิม 8 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่ให้ยกเลิกคือ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษา และพลศึกษา ศิลปะ และ การงานอาชีพและเทคโนโลยีนั้น ตนเห็นด้วย ส่วนหนึ่งเพื่อลดภาระการออกข้อสอบของสถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพราะการออกข้อสอบที่ผ่านมาแต่ละปี ส่วนมากข้อสอบ ที่มีปัญหาและเด็กนำมาโพสต์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กว่าไม่ดี คำตอบมีปัญหา ส่วนใหญ่อยู่ในวิชาสังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ไม่ใช่ข้อสอบในวิชาหลัก ดังนั้น ต่อไปจะให้เด็กสอบเฉพาะวิชาหลักเท่านั้น ส่วนวิชาสังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ให้โรงเรียนจัดสอบเอง ส่วนจะเริ่มเมื่อใดต้องหารืออีกครั้ง--จบ--         

  ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน