สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ศธ.-สนช.ไม่ฟันธงแยก 3 องค์กรแต่ต้องปรับโครงสร้างแน่นอน

ศธ.-สนช.ไม่ฟันธงแยก 3 องค์กรแต่ต้องปรับโครงสร้างแน่นอน

ศธ.-สนช.ไม่ฟันธงแยก 3 องค์กรแต่ต้องปรับโครงสร้างแน่นอน

ศึกษาธิการ * ประชุมร่วม ศธ.-สนช.ยังไม่สรุปแยก 3 หน่วยงานออกจาก ศธ.หรือไม่ แต่เห็นร่วมว่าต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของ ศธ. แน่นอน "ณรงค์" เผยเตรียมลดสัดส่วนแอดมิชชั่นกลางเหลือ 30% ที่เหลือให้มหาวิทยาลัยรับตรง และลดสอบโอเน็ตเหลือเพียงวิชาหลัก ส่วนสังคม พลศึกษา ให้โรงเรียนจัดสอบเอง           พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงภาพรวมของปัญหาการจัด การศึกษา รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกันในหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างของ ศธ. ไปจนถึงเรื่องย่อยๆ รวมถึงแนวทางความร่วมมือทั้งระหว่าง ศธ.กับ กมธ.การศึกษาและการกีฬา ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ เรื่องโครงสร้างของ ศธ. ว่าต้องมีการปรับปรุงอย่างไรบ้าง และต้องมีการแก้กฎหมาย หรือบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ และองค์กรควรจะเป็นรูปแบบใด ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องมีการร่วมกันคิดเพื่อให้การทำงานสามารถเชื่อมโยงกันได้           โดยในส่วนของ กมธ.การศึกษาและกีฬาเอง มีความเห็นไปในทิศทางที่สอดคล้องว่าโครง สร้างของ ศธ.ปัจจุบันควรจะต้องมีการปรับปรุง ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แต่ก็ยังไม่เป็นข้อยุติว่าจะต้องแยกออกจาก ศธ.หรือไม่           รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นทาง กมธ.การศึกษาฯ ยังหารือปัญหาการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งการคัดเลือกนักเรียนในระบบรับตรง และระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งยังมีข้อดี-ข้อเสีย ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ ควรจะปรับสัดส่วนการรับแอดมิชชั่นลงเหลือ 30% แล้วที่เหลือให้ไปรับในระบบรับตรง เพื่อให้มหาวิทยาลัยคัดเลือกเด็กได้ตรงตามความต้องการ แต่ก็ยังขอให้เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษ อาทิ ดนตรี กีฬา ในระบบโควตา แต่ทั้งหมดในรายละเอียดต้องขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย ศธ.คงไม่สามารถไปกำหนดได้           ส่วนกรณีที่ประชุมองค์กรหลักของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือลดการสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ให้เหลือเฉพาะวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ตนเห็นด้วย ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการลดภาระการออกข้อสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เพราะการออกข้อสอบที่ผ่านมามักมีปัญหาและเด็กนำมาโพสต์ วิพากษ์วิจารณ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กว่าข้อสอบมีปัญหา และส่วนใหญ่จะอยู่ในวิชาสังคมศึกษาและพลศึกษา ซึ่งไม่ใช่ข้อสอบในวิชาหลัก ดังนั้นจะต่อไปก็จะให้เด็กสอบเฉพาะวิชาหลักเท่านั้น ส่วนวิชาสังคม พละ ฯลฯ ให้โรงเรียนจัดสอบเอง และคิดข้อสอบที่เหมาะสมกับภูมิภาค อาทิ วิชาสังคมศึกษาอาจจะใช้ข้อสอบจากท้องถิ่นที่สอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนจะเริ่มดำเนินการเมื่อไรนั้น คงต้องหารือในรายละเอียดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้ง.--จบ--          

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์