สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก สพฐ.ลดอบรมครูตามโรงแรม ปรับใหม่จัดที่โรงเรียน-เน้นครูลงมือปฏิบัติจริง

สพฐ.ลดอบรมครูตามโรงแรม ปรับใหม่จัดที่โรงเรียน-เน้นครูลงมือปฏิบัติจริง

สพฐ.ลดอบรมครูตามโรงแรม ปรับใหม่จัดที่โรงเรียน-เน้นครูลงมือปฏิบัติจริง


          นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการตามนโยบายของพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมีนโยบายให้ลดการจัดอบรมพัฒนาครูที่โรงแรม เพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ สิ้นเปลืองงบประมาณ และยังทำให้ครูต้องทิ้งห้องเรียน โดยให้เปลี่ยนมาจัดอบรมในพื้นที่ ใช้สถานที่ในชุมชน อย่างโรงเรียนหรือวัดเป็นสถานที่จัดอบรมแทน เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงได้คิดรูปแบบการอบรมแบบใหม่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานการอบรม (School Base Tranin)
          "การจับครูไปนั่งอบรมตามโรงเรียนเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล ต้องให้ครูได้ปฏิบัติจริง ต่อไปจะจัดอบรมที่โรงเรียน ให้ศึกษานิเทศก์เป็นแกนนำให้ความรู้ครูแต่ละวิชา อาจให้ความรู้ทางวิชาการก่อน 1-2 วัน จากนั้นครูทดลองปฏิบัติจริงในห้องเรียนวิธีนี้ได้ประโยชน์แก่ครูและประหยัดงบ แต่ต้องอบรมศึกษานิเทศก์ 5,000 คนก่อน ให้เป็นแกนนำไปจัดอบรมครูตามโรงเรียน" นายกมลกล่าว
          นายกมล กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2558 นั้น สพฐ.ได้เตรียมงบสำหรับการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ 600-700 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนมาอบรมครูแบบ School Base Traning แล้ว สพฐ.จะเปลี่ยนเป้าหมายการอบรมโดยมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ผอ.เขตส่วนใหญ่มุ่งแต่ทำงานบริหารงบประมาณและบุคลากรมากเกินไป, กลุ่ม ผอ.โรงเรียนแบ่งเป็น กลุ่มผอ.โรงเรียนมาตรฐานสูง โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนดีศรีตำบรล และกลุ่มศึกษานิเทศก์
          นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนการยกร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.สัปดาห์ที่ผ่านมา สพฐ.ได้รายงานต่อ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบและมอบนโยบายให้ดำเนินการได้ทันที จากนี้ สพฐ.จะไปกำหนดแผนการทำงาน คาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี อาจจะนำร่างหลักสูตรที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการได้ทำการศึกษาไว้ มาปรับใช้ได้ถึง 70-80% เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปทำประชาพิจารณ์ จัดทำคู่มือและทดลองใช้หลักสูจรใหม่
          "ทั้งนี้ สพฐ.จะตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร 2 ชุด ชุดแรกเป็นคณะกรรมการอำนายการพัฒนาหลักสูตร มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและชุดที่ 2 คณะกรรมการระดับดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ได้มอบให้ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ.ไปดู เบื้องต้นนายสุชาติเสนอว่าควรให้ผู้มีความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชามาช่วยเสนอแนะและให้ความเห็นด้วย" นายกมล กล่าว

         

--คมชัดลึก ฉบับวันที่ 14 ต.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--