สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก 'กฤษณพงศ์' โยน สปช.ตัดสินแยก สกอ.

'กฤษณพงศ์' โยน สปช.ตัดสินแยก สกอ.

'กฤษณพงศ์' โยน สปช.ตัดสินแยก สกอ.

          จากการเสวนาปฏิรูปการศึกษาด้วยบูรณาการ และเปิดตัวหนังสือสุขศึกษา-พลศึกษาบูรณาการอิสลาม ของมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ปฏิรูปการศึกษา 2 รอบที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งที่ ศธ.ใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมาก แต่ผลการปฏิรูปกลับทำให้เยาวชนไทยห่างหลักศาสนา ผลคะแนนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ตในวิชาหลักลดต่ำลงเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 ระบบประกันคุณภาพ ทำให้ครูมีเวลาสอนเด็กน้อยลง ขณะที่เด็กไทยใช้เวลาในห้องเรียนมากที่สุดในโลก แต่ก็ยังคงต้องมีเรียนพิเศษ กันอยู่
          ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้สรุปถึงแนวโน้มสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลกในอนาคตไว้ 3 เรื่องใหญ่ ซึ่งน่าจะใช้เป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยได้ คือ 1.ทิศทางของกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ต้องเน้นเรียนรู้ทักษะการดำรงชีวิตในโลกอนาคต อาชีพ จะไม่ใช่แค่การได้วุฒิบัตร 2.ทิศทางของเนื้อหาการเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่การเรียนรู้เพียงแค่ 8 กลุ่มสาระวิชา แต่ต้องเน้นคุณค่าของชีวิต ทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีมากกว่าการอ่านออกเขียนได้ แต่ต้องเท่าทันโลก มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีทักษะผู้นำ มีคุณธรรม จริยธรรม และต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ3. ทิศทางของระบบการบริหารจัดการใหม่ ต้องเปิดพื้นที่ให้คนมีส่วนร่วมด้านการศึกษามากขึ้น ไม่ใช่สั่งการจากรัฐบาลกลาง หรือ ศธ. เพียงอย่างเดียว
          "ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเดียว โดยลืมวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในพื้นที่ ซึ่งประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบการศึกษาของรัฐ ที่จะส่งผลให้เด็กและเยาวชนของเขาห่างไกลจากชุมชน ศาสนา จึงเป็นเรื่องที่ต้องหันกลับมาทบทวนใหม่" รมช.ศธ.กล่าวและว่า ทั้งนี้ อาจจะนำข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจังหวัดจัดการตนเอง โดยเฉพาะการกระจาย อำนาจด้านการศึกษา มาเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่นี้
          สำหรับการแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ นั้น ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่า ต้องมีการหารือกันในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยจะมีการนำเสนอข้อมูลให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาด้วย ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเห็นว่า จะแยกหรือไม่แยกไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ แต่จะทำอย่างไรให้อุดมศึกษาของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ผลิตคนสอดคล้องกับงานที่มีอยู่ ไม่ใช่ผลิตคนออกมาเฟ้อ แล้วไม่มีงานทำ.

        

  --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 ก.ย. 2557 (กรอบบ่าย)--