สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก แปดริ้วโมเดล (PADRIEW Model)

แปดริ้วโมเดล (PADRIEW Model)

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 83/2557
แปดริ้วโมเดล (PADRIEW Model)

ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือกับคณะกรรมการดำเนินการโครงการ "แปดริ้วโมเดล (PADRIEW Model)" เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีผู้บริหารส่วนกลาง คือ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นายสุรพงษ์  จำจด รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  และนายอกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมประชุมกับผู้บริหารการศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา

รมว.ศธ.กล่าวว่า ได้รับฟังรายงานความสำเร็จในการจัดนิทรรศการ "รวมพลัง สร้างคน สร้างงาน : แปดริ้วโมเดล (PADRIEW Model)" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2557 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแนะนำ แนะแนว ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.6 เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเรียนต่อด้านอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มปริมาณการเรียนต่อด้านอาชีวศึกษา เพื่อให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อประกันคุณภาพการจัดการด้านอาชีวศึกษาให้สนองตอบต่อตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างความมั่นใจให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง และการมีงานทำในอนาคต และเพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนต่อด้านอาชีวศึกษาที่มีความต่อเนื่องยั่งยืน

ความสำเร็จในการดำเนินงานแปดริ้วโมเดล เกิดจากหลายหน่วยงานมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ดังนี้

  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1,2 และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ซึ่งมีหน้าที่สร้างความเข้าใจ ปรับมโนทัศน์ ค่านิยมในการเรียนต่อของนักเรียน ผู้ปกครอง โดยการสำรวจหรือวัดแววความถนัดของเด็ก ปรับแผนการเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรใหม่ในกลุ่มวิชาการงานอาชีพ ที่เหมือนเป็นการบ่มเพาะต้นกล้าอาชีวศึกษา ร่วมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาในลักษณะ Pre-Vet

  • สถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน  มีหน้าที่ในการปรับภาพลักษณ์การเรียนอาชีวะ การประสานกับนิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียง เช่น อมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมเวลโก เกตเวย์ 304 กบินทร์บุรี ฯลฯ เพื่อกำหนดความต้องการกำลังคนในแต่ละกลุ่มอาชีพ และนำแผนความต้องการมาวิเคราะห์สมรรถนะของอาชีพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องต่อไป นอกจากนี้มีการพัฒนาครูผู้สอนในกลุ่มวิชาชีพร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรแบบส่งต่อที่เชื่อมโยงสมรรถนะอาชีพ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในระดับอุดมศึกษาสายเทคโนโลยีปฏิบัติการ

  • สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา  มีหน้าที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมด้านข้อมูลความต้องการกำลังคน ในส่วนของ Demand Side

  • จังหวัดฉะเชิงเทรา  โดยการนำของผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรามีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน กระตุ้น และพัฒนาเศรษฐกิจภายในจังหวัด ให้สอดคล้องกับการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์  มีหน้าที่เชื่อมต่อการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสายเทคโนโลยีปฏิบัติการ

ทั้งนี้ แม้จะเริ่มดำเนินการในปีแรก แต่ก็ช่วยกระตุ้นให้สังคมเข้าใจในความสำคัญของการอาชีวศึกษามากขึ้น จึงต้องการให้แปดริ้วโมเดล เป็นรูปแบบที่ควรขยายผลไปยังเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ต่อไป และการสร้างกระแสความสนใจที่เกิดขึ้นนี้ จะต้องให้เกิดผลดีต่อสถานศึกษาอาชีวะของเอกชนด้วย เพราะหากเราพัฒนารูปแบบโดยเน้นเฉพาะสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ จะทำให้ดึงผู้เรียนจากสถานศึกษาอาชีวะเอกชนออกมา

นอกจากนี้ การจัดการศึกษาอาชีวะที่มุ่งเน้นให้สนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมแล้ว ขอให้คำนึงถึงการผลิตผู้เรียนในสาขาอาชีพต่างๆ ของจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง เช่น ชลบุรี สมุทรปราการ ฯลฯ ด้วย รวมทั้งควรมีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ทั้งระยะสั้นและหลักสูตรปกติ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนเรียนจบแล้วไปทำงานได้จริง ซึ่งจะส่งผลถึงความรู้สึกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้ามาเรียนสายอาชีวศึกษาทั่วประเทศในปีต่อๆ ไปมากขึ้นด้วย