สล็อตเว็บตรง
สล็อตออนไลน์
สล็อตอันดับ1ของโลก ประชุมเร่งรัดการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่การประเมิน PISA

ประชุมเร่งรัดการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่การประเมิน PISA

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 73/2557
ประชุมเร่งรัดการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่การประเมิน PISA

โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเร่งรัดการยกระดับคุณภาพผู้เรียนสู่ความพร้อมในการประเมินระดับนานาชาติ รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557 และรุ่นที่ 3 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2557 จัดโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีผู้บริหารและบุคลากรจากองค์กรหลัก ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษา คณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) /สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)  เข้าร่วมประชุมรุ่นละประมาณ 350 คน

ดร.ไพรวัลย์ พิทักษ์สาลี ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สืบเนื่องจากนโยบายของ ศธ. ที่ได้กำหนดให้มีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมคนไทยสู่สังคมในโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายภายในปี 2558 ผลการจัดอันดับการศึกษาไทยผลการทดสอบ PISA ของไทย ต้องอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น

สพฐ.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีนักเรียนเข้ารับการประเมินผลทดสอบ PISA กว่าร้อยละ 65 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ทัดเทียมนานาชาติ จึงได้เสนอให้แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ของ ศธ. พร้อมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียนของนักเรียน โดยใช้องค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA  และจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ PISA ของประเทศไทยกับผู้บริหารจากหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในทุกภาคส่วนตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว

รมว.ศธ. กล่าวในพิธีเปิดว่า ศธ.ได้กำหนดนโยบายโดยใช้การประเมินระดับนานาชาติ PISA เป็นตัวชี้วัดหลักของนโยบายการศึกษา 8 ข้อ กล่าวคือ การวัดผล PISA ครั้งต่อไปไทยต้องมีอันดับสูงขึ้น และเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าการวัดผลนี้เป็นเรื่องระดับสากล เป็นตัวชี้วัดที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา หรือบางประเทศที่จัดการศึกษาดี แม้ว่าจะเป็นการวัดผลในครั้งแรก แต่ก็มีผลคะแนน PISA ที่สูงมาก ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษาที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ PISA ในอันดับสูง รวมทั้งจากการที่ประเทศไทยไม่มีการวัดผลกลาง  ทำให้จำเป็นต้องวัดโดยวิธีวัดในระดับสากล เพื่อให้ได้รู้สถานะของการจัดการศึกษาไทย ซึ่งผลประเมิน PISA ที่ผ่านมาของไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ ก็ทำให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของไทยโดยเร็ว

ดังนั้น ศธ.ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกภาคส่วน มีการเตรียมการและจัดทำแผน/แนวทางที่เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพและสร้างความเข้มแข็งของนักเรียนไทย โดยย้ำว่า การตั้งเป้าหมาย “ยกอันดับ PISA ให้สูงขึ้น” ไม่ใช่เรื่องที่ต้องการให้เกิดความโก้หรือเท่ แต่การจะมีอันดับสูงขึ้นได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะต้องดีขึ้นด้วย และแม้ว่าการประเมิน PISA จะวัดเฉพาะผู้เรียนอายุ 15 ปี แต่ผลการประเมินก็พบว่า ในหลายประเทศมีความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างผลการประเมิน PISA กับการจัดการศึกษา รวมทั้งการประเมิน PISA เน้นจัดการเรียนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จึงเป็นที่มาที่ทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมคิดโจทย์นี้ร่วมกัน คือ ทำอย่างไรให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์

ทั้งนี้ แนวทางสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนแบบคิดวิเคราะห์ คือ ทุกคนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการสอบประเมินและข้อสอบประเมิน PISA ทั้งผู้เรียนผู้สอนมีความเข้าใจที่ตรงกันเพื่อปรับแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในบางประเทศการปรับหลักสูตร เปลี่ยนวิธีเรียนวิธีสอน เพื่อให้เด็กคิดเป็นคือเป้าหมายสูงสุด แต่วิธีการทำให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์เป็นต้องนำข้อสอบและผลสอบมาศึกษาว่า ส่วนใดผู้เรียนทำได้หรือทำไม่ได้ และเป็นผลมาจากการเรียนการสอนหรือหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร

ในส่วนของผลการประเมิน PISA ล่าสุดของไทย พบว่าคะแนนทั้ง 3 วิชาดีขึ้น แต่อันดับเท่าเดิม ซึ่งต้องยอมรับว่าภาพรวมยังไม่ดีขึ้นเลย แต่สิ่งที่น่ายินดี คือนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสามารถทำคะแนนได้ดี เพราะ สพฐ. และผู้เกี่ยวข้องได้จัดโครงการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ส่งผลให้คะแนนของโรงเรียนขยายโอกาสดีขึ้นด้วย แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการวางแผนและดำเนินการอย่างจริงจังก็จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้ รวมทั้งงบประมาณที่จะจัดสรรลงไป นอกจากนี้การแลกเปลี่ยนทั้งภายในประเทศและศึกษาจากนานาประเทศ จะช่วยทำให้อันดับของ PISA สูงขึ้นได้เช่นกัน

ผลการประเมิน PISA ของบางประเทศที่เพิ่งเข้ารับการประเมินครั้งแรก ทั้งประเทศในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านก็สามารถทำอันดับได้ดีมาก สำหรับประเทศไทยหากนำผลสอบของเด็กส่วนใหญ่มาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นคะแนนเฉลี่ย คะแนนอันดับต้น และคะแนนของเด็กส่วนใหญ่ จะแสดงให้เห็นภาพโดยรวมว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ขอยกตัวอย่างบางประเทศเน้นพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน บางประเทศเตรียมการอย่างจริงจังก่อนสอบ บางประเทศประกาศเป็นนโยบาย โดยจัดตั้งคณะกรรมการ/องค์กรรับผิดชอบอย่างชัดเจน ซึ่ง ศธ.ก็ดำเนินการประกาศเป็นนโยบาย พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานชัดเจนมากกว่าจะดำเนินการตามธรรมชาติเช่นกัน และเชื่อว่าคำแนะนำจากผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จะเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินงานสู่เป้าหมายและส่งผลให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

 

ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ประธานกรรมการคณะกรรมการปฏิบัติการในคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA  กล่าวถึงผลการทดสอบ PISA กับภาพลักษณ์ของประเทศไทย และการนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA มาใช้ในการสร้างความพร้อม มีสาระสำคัญดังนี้

@ ผลการทดสอบ PISA กับภาพลักษณ์ของประเทศไทย

  • ความเป็นมา การประเมินตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติที่วัดความรู้และทักษะของนักเรียนอายุ 15 ปี (14 ปี 6 เดือน ถึง 15 ปี 6 เดือน ณ วันที่ 1 มกราคมของทุกปีที่สอบ) ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยประเมินต่อเนื่องกันทุก 3 ปี ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ PISA มาแล้ว 5 ครั้ง ได้แก่ ปี 2543, 2546, 2549, 2552 และ 2555 ซึ่งผลการประเมินยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ

  • การประเมินโครงการ PISA  ในปี 2558 เน้นวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.1-2 ในปีการศึกษา 2556 (เกิดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2542 ถึง 31 พฤษภาคม 2543) ปี 2561 นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ป.4-5 ในปีการศึกษา 2556 (เกิดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2545 ถึง 31 พฤษภาคม 2546)

  • ผลการทดสอบ PISA ของไทย ที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด มีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศมาก เนื่องจากได้มีการนำผลการทดสอบ PISA ไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเกณฑ์ในการพิจารณาความน่าลงทุนด้วย ซึ่งในสายตานานาชาติมองว่า ไทยเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาต่ำ หรือคุณภาพ/ศักยภาพของคนไทยต่ำเมื่อเทียบกับนานาชาติ

  • 4 สมมติฐานที่เชื่อว่าทำให้ผลการทดสอบ PISA ของไทยตกต่ำ คือ 1) ทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียน (ภาษาไทย) อยู่ในระดับต่ำ  2) การเรียนการสอนจริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  3) รูปแบบข้อสอบของ PISA แตกต่างจากข้อสอบที่นักเรียนเคยทดสอบ  4) นักเรียน ครู ผู้บริหาร และสังคมส่วนใหญ่ ยังไม่รู้จัก PISA

  • การเตรียมตัวของประเทศต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอในการประชุมประจำปีของ OECD ด้านการศึกษา เมื่อปี 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้

  • 1) ประเทศญี่ปุ่น เพิ่มกิจกรรมการอ่านในตอนเช้า (Morning Reading Session) โดยแบบฝึก “PISA-Style Reading Comprehension, ส่งเสริมให้ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ของโรงเรียน, เพิ่มเวลาเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านในระดับประถมศึกษา และลดจำนวนนักเรียนเหลือไม่เกิน 35 คนต่อห้อง

    2) ประเทศอินโดนีเซีย นำ National Examination มาใช้ในการประเมินผลการจบการศึกษาของประเทศ

    3) ประเทศจีน (เชียงไฮ้) ซึ่งมีผลประเมิน PISA 2009 และ 2012 ด้านการอ่านอยู่ในระดับสูงสุด ได้กำหนดให้สถานศึกษาจัดการเรียนให้นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการอ่านไม่ต่ำกว่าระดับ 2 ของ PISA และให้นโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของมณฑลและเมือง

    @ แนวทางปฏิบัติของประเทศไทย ในการนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA มาใช้ในการสร้างความพร้อม

    • แนวปฏิบัติที่ 1 ให้ทุกโรงเรียนแทรกกิจกรรมด้านการอ่านและการคิดวิเคราะห์ตามแนวทาง PISA ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือรายวิชาที่เหมาะสมโดยใช้บทอ่านและแบบฝึกที่ได้รับจาก สพฐ./สสวท. ในระดับชั้น ป.4 - ม.3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

    • แนวปฏิบัติที่ 2  การสอบทุกครั้ง ให้โรงเรียนลดข้อสอบแบบเลือกตอบและเพิ่มข้อสอบเกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีความยาวและซับซ้อนตามข้อสอบ PISA  เพื่อให้นักเรียนได้อ่าน ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์นั้น โดยเน้นตั้งคำถามการวิเคราะห์ และให้นักเรียนเขียนคำตอบพร้อมแสดงเหตุผล ที่มา หรือวิธีทำให้ได้คำตอบนั้นๆ

    • เป้าหมายความสำเร็จในปี 2558

    1) ด้านการอ่าน มีผลประเมินในอันดับที่ 39 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0

    2) ด้านคณิตศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 40 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 460 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 35  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 5.0

    3) ด้านวิทยาศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 38 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0

    • เป้าหมายความสำเร็จในปี 2561

    1) ด้านการอ่าน มีผลประเมินในอันดับที่ 25 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 500 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 10  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 5.0

    2) ด้านคณิตศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 35 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 500 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 20  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 8.0

    3) ด้านวิทยาศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 38 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0

    ทั้งนี้ คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 หมายความว่า มีศักยภาพด้านนั้นต่ำจนไม่สามารถใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและเท่านั้น  ส่วนคะแนนระดับ 5 และ 6 หมายความว่า มีศักยภาพด้านนั้นสูงเยี่ยม

    • การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการ PISA  ปี 2558 และปี 2561

    ผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับการเตรียมความพร้อม ได้แก่ นักเรียน ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา โดยมีมาตรการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 ใน 6 มาตรการ ดังนี้

    มาตรการที่ 1 สร้างความตระหนักและสร้างทีม PISA ระดับเขตพื้นที่และหน่วยงานอื่น

    มาตรการที่ 2 สร้างและจัดหาข้อสอบแนว PISA จัดทำคลังข้อสอบและสร้างระบบสอบออนไลน์ สำหรับให้เขตพื้นที่และโรงเรียนทุกสังกัดใช้

    มาตรการที่ 3 สร้างบทอ่านและสร้างแบบฝึก เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาของนักเรียนทุกสังกัด

    มาตรการที่ 4 พัฒนาแบบทดสอบวัดระดับความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทย ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

    มาตรการที่ 5 ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนกลุ่มที่มีผลการสอบ PISA ปี 2555 ต่ำ

    มาตรการที่ 6 สร้างความเข้มแข็งของระบบกำกับ ติดตาม และประเมินผล

     

    นอกจากนี้ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ได้เสนอแนะสิ่งที่ควรดำเนินการเพิ่มเติม เช่น

    - แต่ละเขตพื้นที่ควรมีทีมสร้างข้อสอบแนว PISA อย่างน้อย 9 คน (การอ่าน 3 คน คณิตศาสตร์ 3 คน วิทยาศาสตร์ 3 คน) ภายในปีงบประมาณ 2558

    - แต่ละโรงเรียนควรมีครูที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้ชำนาญการด้านสร้างข้อสอบ/เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ประจำโรงเรียน 2-3 คนต่อโรงเรียน ที่สามารถให้คำแนะนำและนิเทศครูในโรงเรียนได้ ภายในปีการศึกษา 2560

    - การศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบที่โรงเรียนใช้ว่า มีความเหมาะสม มีความตรง มีความเชื่อถือได้เพียงใด และจะต้องพัฒนาอย่างไร ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อจับผิด แต่เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข

    - การศึกษาวิธีการวัดและประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้นและจบช่วงชั้นของนานาประเทศ เช่น จาก ป.1 ขึ้น ป.2, จาก ม.2 ขึ้น ม.3, จบ ป.6, จบ ม.3 และสำหรับประเทศไทยควรจะทำอย่างไร ถึงเวลาที่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง

    - ควรได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งนักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และประชาชน  ในการจัดกิจกรรมทั้งหมด และทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ เห็นคุณค่า ความจำเป็นของการเข้าร่วมโครงการ PISA  ตลอดจนมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เชื่อว่าทำได้ เราก็ผิวเหลือง ผมดำ เหมือนคนอื่น และการจัดกิจกรรมจะต้องดำเนินการต่อเนื่องตลอดไป

    ที่สำคัญคือ ต้องเริ่มตั้งแต่ "เมื่อวานนี้"